ไข้ไทฟอยด์
ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) เป็นโรคติดเชื้อ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ ซาลโมเนลลา ไทฟี ( Salmonella typhi ) หรือ ” โรคไข้รากสาดน้อย ” เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ผ่านทางอาหาร และน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ และการใกล้ชิดผู้ที่มีเชื้อโรค
อาการ
- มีไข้สูง
- เหงื่อออกมาก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
- ท้องร่วง
- ผื่นขึ้นตามตัว
- เลือดออกทางระบบอาหาร (กรณีรุนแรง)
การรักษา
- สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อย่างรุนแรง จะต้องไปพบแพทย์ เพื่อรับยาฆ่าเชื้อ มีทั้งแบบยากิน และยาฉีด
- รักษาตามอาการ กรณีอาการไม่รุนแรง เช่น มีไข้ก็ให้ยาลดไข้
- ถ่ายเหลว หรือท้องเสีย จำเป็นต้องนำอุจาระไปตรวจ เพื่อดูว่ายาฆ่าเชื้อชนิดใหน ที่สามารถฆ่าเชื้อได้ เพราะอาการท้องเสียจากโรคไทฟอยด์ ต่างกันกับอาการ ท้องเสีย ทั่วไป
- ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน จะต้องนอนรักษาอาการที่โรงพยาบาล
ปัจจัยเสี่ยง
- การทำงาน และการเดินทางไปในบริเวณที่มีการระบาดของโรค
- การคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อโรคไทฟอยด์
- มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากเป็นโรค หรือได้รับยาบางชนิด
- การดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของโรคไทฟอยด์
การติดโรคไทฟอยด์ที่พบบ่อยที่สุด
การติดต่อผ่านการปนเปื้อนของเชื้อในอุจจาระ ซึ่งอาหารและน้ำดื่มเหล่านั้น อาจถูกปนเปื้อนโดยอุจจาระ ที่มีเชื้อโรคจากผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี หรือผู้ที่ไม่ได้ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ เมื่อบริโภคอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเข้าไป คนผู้นั้นก็จะได้รับเชื้อแบคทีเรีย และติดเชื้อตามมา
การป้องกันเบื้องต้น
- รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก ผลไม้และผักสด ควรล้างให้สะอาด
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
- ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
- ฉีดวัคซีนป้องกัน ถ้าต้องเดินทางในประเทศ ที่มีโรคไทฟอยด์ระบาด
รู้หรือไม่?
- เด็กมีแนวโน้มติดเชื้อไทฟอยด์ได้ง่ายกว่า แต่ผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่า
- องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคไข้ไทฟอยด์ เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ที่มีการระบาดใน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
- ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 16 ถึง 33 ล้านราย และทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5 แสนราย ต่อปี