โรคไต
โรคไต (Kidney Disease) โรคไตวาย เกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำเกลือแร่ และของเสียออกจากร่างกายได้ ทำให้ร่างกายเสียสมดุล การก่อตัวของโรคมักเป็นไปอย่างช้าๆ โดยมีโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตวายเป็นส่วนใหญ่
อาการท้องเสียอย่างรุนแรง ทำให้เสียน้ำและเกลือแร่เป็นจำนวนมาก ในเวลาที่รวดเร็ว รักษาไม่ทันท่วงที เป็นสาเหตุไตวายเฉียบพลันได้ หรือการเสียเลือดจากอุบัติเหตุ ในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว
ไตเป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่ว มีขนาดเท่ากับกำปั้นมือ มีอยู่ 2 ข้าง ตั้งอยู่ที่หลังข้างกระดูกไขสันหลังทั้งสองข้าง ไตทำหน้าที่ขับน้ำ และของเสียจากเลือดออกนอกร่างกาย
หน้าที่ของไต
กรองของเสียออกจากร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร ก็จะปล่อยของเสียออกมาทางเลือด แล้วเลือดเหล่านี้ ก็จะถูกส่งไปกรองที่ไต เพื่อเอาเลือดที่ดีกลับเข้าร่างกาย และขับของเสียออกไปทางปัสสาวะ
ไตยังทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ต่างๆและน้ำ สร้างฮอร์โมนที่จำเป็นกับระบบการควบคุมความแข็งแรงของกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง สร้างเม็ดเลือดแดงให้เพียงพอ
อาการระยะแรกของโรคไต
โรคไตจะไม่มีอาการใดๆจนกว่าระบบการทำงานของไตจะเสียหายไปเกือบทั้งหมดหรือเสื่อมไป 75 เปอร์เซ็นต์แล้วจึงจะเริ่มมีอาการ บางครั้งไตอาจเสื่อมไปแล้วถึง 50 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่แสดงอาการ
อาการระยะ 1-4
- ปัสสาวะมีสีผิดปกติ อาจจะมีสีเหมือนมีเลือดปนเรียกว่าสีน้ำล้างเนื้อก็ได้
- ปัสสาวะเป็นฟองเกิดขึ้นมา ลักษณะฟองละเอียด
- ปัสสาวะบ่อยกลางคืน ปกติคนเราปัสสวะไม่ควรเกิน 1 หรือ 2 ครั้งต่อคืน ถ้าเกินกว่า 2 ครั้งต่อคืนขึ้นไปควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีโรคไตเกิดขึ้นหรือไม่
อาการระยะ 5
- ไตเสื่อมแล้ว 75 %
- อ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรง
- นอนไม่หลับ
- หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
- เป็นตะคริวง่าย
- เบื่ออาหาร
- ปวดท้อง
- ขาบวม ถ้ากดบริเวณกระดูกเนื้อจะบุ๋มค้างทันที
- เส้นเลือดที่คอจะโป่งขึ้นมา
- ทานเข้าไปอาหารไม่ย่อย
- อาการทางผิวหนัง เช่น คันตามตัว เกานิหน่อยก็มีเลือดออก มีจ้ำเลือดเกิดขึ้นง่าย
- อาการทางระบบประสาท เช่น ชาปลายมือปลายเท้า
การตรวจวิจนิจฉัย
- ตรวจเลือด โดยการเจอะเลือดดูค่าการทำงานของไตว่าไตนั้นยังฟอกเลือดได้ปกติดีหรืไม่ ดูว่าไตทำงานกี่เปอร์เซ็นต์
- ตรวจปัสสาวะ ดูว่ามีโปรตีนและเม็ดเลือดแดงรั่วออกมากับปัสสาวะหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเส้นเลือดเริ่มรั่วแล้วหรือที่เรียกว่าไข่ขาวรั่วนั้นเอง
- อัลตร้าซาวด์ เพื่อดูขนาดของไตและความหนาของเนื้อไตทั้งสองข้างว่าปกติดีหรือไม่ และตรวจดูกระเพาะปัสสาวะว่ามีนิ่วหรือก้อนเนื้อหรือไม่
การรักษา
วิธีการรักษา เน้นไปที่การควบคุมป้องกันไม่ให้ไตเสียเร็วขึ้น โดยผู้ป่วยควรจะควบคุมอาหารบางอย่าง เช่น อาหารที่มีรสเค็ม เกลือ ไข่ ผลไม้ กล้วย มะเขือเทศ ส้ม ถั่ว มันฝรั่ง
ควบคุมปริมาณน้ำดื่ม นม น้ำอัดลม และถ้าความดันโลหิตสูงต้องควบคุมให้ดี เพราะระดับความดันโลหิตมีผลกระทบอย่างมากต่ออัตราการเสื่อมของไต แม้แต่ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้โรคไตแย่ลงได้เร็วขึ้น
ยาจะช่วยลดอาการได้บ้าง แพทย์จะให้ยาตามอาการ แต่ไม่มียาอะไรที่จะขับของเสียออกจากร่างกายได้ วิธีที่จะขับของเสีย และน้ำออกจากร่างกายได้ คือการล้างไต หรือ การเปลี่ยนถ่ายไตเท่านั้น ซึ่งจะทำเมื่อไตวายระยะสุดท้าย หรือไตเสื่อมระยะสุดท้าย
ถ้าไตเสื่อมไปแล้ว 75 % จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ช่วยชลอไตเสื่อม ไม่ให้เสื่อมอย่างรวดเร็วจนถึงระยะที่เรียกว่า ไตวายระยะสุดท้าย
การป้องกันไม่ให้เป็น โรคไต
- อย่ากินยาที่จะเป็นพิษต่อไต โดยที่เราไม่ทราบสรรพคุณ เช่น ยาจีน ยาต้ม ยาหม้อ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ไตเกิดพังผืดได้ หรือ กลุ่มยาแก้ปวดแอสไพริน พาราเชตามอล ยาแก้ปวดอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ทานเข้าไปเป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดไตเสื่อมได้
- รักษาระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถ้าคุณเป็นเบาหวาน และหมั่นไปตรวจเลือด เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ มีฤทธิ์ทำลายอวัยวะหลายอย่างทั้ง ไต หัวใจและหลอดเลือด
- รักษาระดับความดันโลหิตให้ปกติ ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำให้โรคไตแย่ลงได้เร็วขึ้น
- อย่ากินโปรตีนมากเกินไป เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก แต่ถ้าคุณมีไตไม่ดีอยู่แล้ว ให้ลดอาหารที่มีโปรตีนลงทันที และลดอาหารที่มีรสเค็ม
- ลดอาหารที่มีโพเทสเซียมสูง เช่น ส้ม กล้วย มันฝรั่ง ถ้าไตกำจัดโพเทสเซียมไม่ได้ ระดับโพเทสเซียมในเลือดจะสูง ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และถึงแก่ชีวิตได้
- เลือกกินอาหารที่มีผลดีต่อไต เช่น ผัก ผลไม้ อาหารไขมันต่ำ
- ควรลดน้ำหนัก ไม่เครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และบุหรี่
- ตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพไต ความดันโลหิต ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ เพื่อเช็คสุขภาพเสียแต่เนิ่นๆ