ไวรัสตับอักเสบซี
ไวรัสตับอักเสบซี (HCV) โรคนี้มีการติดต่อคล้ายๆ กับโรคเอดส์ แต่โอกาสที่จะติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันจะน้อยกว่า ส่วนใหญ่จะติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการติดต่อจากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร
เมื่อไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกาย มันจะเดินทางไปตามกระแสเลือดแล้วตรงไปที่ตับ ไวรัสจะไปขยายเพิ่มขึ้นในตับ ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายเนื้อเยื่อตับ
และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ก็จะทำให้ตับมีแผลเป็น หรือที่เรียกว่าพังผืดในตับ และในระยะสุดท้ายจะเป็น “ตับแข็ง” และตับจะหยุดทำงาน ซึ่งเราแรกว่า ภาวะตับวาย ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่ทำการสัก หรือเจาะตามร่างกาย
- คนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบซี
- ผู้ป่วยโรครเอสด์
- มีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
- ผู้ที่ได้รับเลือดก่อนปี พ.ศ. 2535 เพราะยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
อาการ ไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการป่วยอะไรเลย อาจจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ หรือกว่าจะมีอาการก็เป็นตับแข็งและลุกรามไปเป็นมะเร็งตับแล้ว
รักษาให้หายขาดได้ใหม?
ประมาณ 30-90 % ของผู้ป่วยที่รับการรักษามีโอกาสหายขาด แต่ในระหว่างการรักษาควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและยาเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น จนบ้างครั้งอาจนำไปสู่การยุติการรักษาได้
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี
รักษาโดยการใช้ยา 2 ตัวควบคูกัน คือ PEG – Interferon โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และยา Ribavirin เป็นยาแคบซูน ทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร ซึ่งจะใช้เวลาในการรักษา 6-12 เดือน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มรักษา จะขึ้นอยู่กับปริมาณของพังผืดที่ตับ หรือแผลเป็นที่มีอยู่ในตับ คนที่มีไวรัสตับอักเสบซี แต่ไม่มีพังผืด หรือมีน้อย ไม่จำเป็นต้องเริ่มการรักษาในทันที
แต่คนที่มีพังผืดเยอะ จะต้องเริ่มการรักษาเลย แต่สำหรับบางคนที่มีภาวะตับวาย หรือเป็นโรคตับแข็ง ตับจะทำงานไม่ค่อยดี จึงทำให้ไม่สามารถทำการรักษาได้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ตับจะไม่ตอบสนองต่อการรักษา
นอกจากนี้คนที่เป็น มะเร็งตับ ควรได้รับการรักษาโรคมะเร็งก่อน และอาจจะไม่สามารถรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีได้
ผลเคียงจากการรักษา
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอย่างไดอย่างหนึ่ง แต่จะไม่รุ่นแรงมาก และจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ
- ไม่สบายเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ เหนื่อย
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยาบวมแดง หรือคัน ผิวแห้ง และมีอาการคันตามร่างกาย
- รู้สุกหงุดหงิด หรือรู้สึกเศร้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
- คลื่นไส้ เบื่ออาหาร รู้สึกรสชาติอาหารเปลี่ยนไป อาเจียน น้ำหนักลด
- มีปัญหาต่อมไทรอยด์ และเป็นโรคโลหิตจาง หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ
ผู้ที่ไม่สามารถรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีได้
- หญิงตั้งครรภ์ หรือ คนที่คิดว่ากำลังจะตั้งท้อง และคนที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ผู้ชายที่กำลังวางแผนมีลูก เพราะยา Ribavirin มีผลต่ออสุจิ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การดื่มสุรามากเกินไป
- ผู้ป่วยโรคจิตเภทขั้นรุ่นแรง เช่น ภาวะซึมเศร้ารุนแรง
- เป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ จากตา ปอด ไต หรือหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกร็ดเลือดต่ำมากในเลือด
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ หรือดื่มหนักๆ เพราะการดื่มหนักๆ จะทำให้ตับเกิดอาการอักเสบเยอะขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตับ ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อให้แน่ใจว่า ยาจะไม่มีผลต่อตับเรา รวมไปถึงยาสมุนไพร และวิตามินเสริมด้วย
- งดสูบบุหรี่
รู้หรือไม่?
- โรคไวรัสตับอักเสบซียังไม่มีวัคซีนป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดกับบุคคลที่เป็นพาหะ -ไวรัสตับอักเสบซีไม่สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสในชีวิตประจำวัน การกอด การสัมผัส การจูบ หรือแม้แต่การใช้จานชามร่วมกันได้
- ในจำนวน 100 คนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมาแล้วไม่ได้รับการรักษา ประมาณ 30 คนที่เชื้อไวรัสไม่ได้สร้างปัญหาไดๆ ต่อตับเลย แต่ว่าเชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกายและสามารถติดต่อไปสู่คนอื่นได้โดยทางเลือด
- การตรวจเลือดเพื่อหาไวรัสตับอักเสบซีเป็นวิธีเดียวที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรามีเชื้อหรือไม่