มะเร็งเต้านม (Breast cancer) ส่วนมากจะเกิดในท่อน้ำนมซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วภายในเต้านม ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก้อนมะเร็งก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ และจะแพร่กระจายลามไปส่วนอื่นๆ ทั่วร่างกายได้
ตำแหน่งในการเกิดมะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วเต้านมรวมถึงหัวนมด้วย มักพบมะเร็งเต้านมที่บริเวณใต้รักแร้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- เชื้อชาติ มักพบโรคนี้ในเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเชื้อชาติเอเชีย
- เพศ โดยเฉพาะเพศหญิง
- อายุที่มากขึ้น หรืออายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายเท่า
- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้
- มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย
- การกินยาเม็ดคุมกำเนิดต่อกันเป็นเวลานาน
- มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีภาวะโรคอ้วนหลังวัยหมดประจำเดือน
- ดื่มแอลกอฮอลล์และสูบบุหรี่
- การมีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี หรือผู้หญิงที่ไม่มีบุตร
สัญญาณเตือน
สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมคือ คลำได้ก้อนเนื้อในเต้านมและมักเกิดเพียงข้างเดียว โอกาสเกิด 2 ข้าง มีประมาณ 5 % มักพบบริเวณเต้านมฝั่งรักแร้มากกว่าส่วนอื่น
ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด มีเพียง 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่มีอาการเจ็บเต้านม อาจมีหัวนมบุ๋ม เต้านมใหญ่ขึ้น ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม ผิวหนังที่เต้านมมีผื่นแดง ร้อน มีแผลเรื้อรังที่หัวนมหรือรอบหัวนม มีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกจากหัวนม
อาการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 มีก้อนที่บริเวณหน้าอกข้างไดข้างหนึ่ง ขนาดเล็กกว่า 2 เซ็นติเมตร และยังไม่มีการแพร่กระจาย ในระยะนี้หากทำการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 90-100 %
- ระยะที่ 2 ก้อนนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในระหว่าง 2-5 เซ็นติเมตร และมีการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ 1-3 ต่อม ในระยะนี้หากทำการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 85-90 %
- ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่า 5 เซ็นติเมตร และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง 4-9 ต่อม ก้อนมะเร็งอาจลุกลามไปยังผนังหน้าอกหรือผิวหนังของเต้านม หากทำการรักษาอย่างถูกต้องจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 65-70 %
- ระยะที่ 4 คือระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ สมอง ไขกระดูก เป็นต้น ผู้ป่วยในระยะนี้ส่วนใหญ่จะรักษาไม่หายขาด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่มีมะเร็งแพร่กระจาย ส่วนอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 0-20 %
การรักษา มะเร็งเต้านม
- การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักเพื่อกำจัดต้นตอของมะเร็ง โดยอาจตัดเต้านมออกเพียงบางส่วนหรือตัดออกทั้งหมด พร้อมเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ออก
- การให้ยาเคมีบำบัด ถ้าขนาดของมะเร็งเต้านมไม่ใหญ่มากไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมทิ้ง สามารถให้ยาเพื่อลดขนาดขนาดของก้อนเนื้องอกให้เล็กลง แล้วทำการผ่าตัดเอาก้อนนั้นออก แล้วทำการฉายแสงตรวจดูว่ามะเร็งลามไปต่อน้ำเหลืองหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องทำการเลาะมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองออกด้วย
- แพทย์จะให้การรักษาเสริมด้วยการฉายแสงรังสีรักษา
- ยาฮอร์โมนบำบัด
- การให้ยารักษาแบบมุ่งเป้า ด้วยยารักษาตรงเป้าหรือยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง
แนวทางในการรักษามักใช้หลายๆ วิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย ผลการรักษาจะได้ผลดีถ้าเป็นระยะแรกมักจะมีชีวิตอยู่ได้นานตามปกติหรือหายขาด
ผู้ป่วยแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน ซึ่งแพทย์จะสามารถทราบได้จากการตัดชิ้นเนื้อจากก้อนมะเร็ง ไปตรวจทางพยาธิวิทยา
วิวัฒนาการการรักษาในปัจจุบันทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายจากมะเร็งได้ หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยประสิทธิภาพยาที่ดี รักษาตรงจุด มีผลข้างเคียงน้อยลง ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตได้ตามปกติ
ผลข้างเคียงจากการรักษา
- การผ่าตัด เกิดการเสียเลือด แผลติดเชื้อ การสูญเสียเนื้อเยื่อ
- ผิวหนังที่ทำการฉายรังสี เกิดเป็นแผลถลอก เป็นแผลคล้ายแผลถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลมีขนาดใหญ่และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด คือ ผมร่าง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน มือเท้าชา อ่อนเพลีย เกิดภาวะซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ทำให้มีเลือดออกได้ง่าย การทำงานของไตลดลง เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจะสูงหรือรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง
- ควรตรวจในช่วงเวลา 7-10 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน หลีกเลี่ยงการตรวจในระยะ 1 สัปาดาห์ก่อนมีประจำเดือน
- ยืนหน้าจะจก ตรวจดูความสมดุลของเต้านมทั้ง 2 ข้าง ว่ามีบริเวณที่ไม่สมดุลกันหรือไม่
- ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ตรวจลัษณะของผิวหนังทั่วเต้านมว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เช่น เป็นรอยบุ๋ม นูนเปล่ง มีแผล
- ตรวจบริเวณหัวนมว่ามีรอยถลอก บาดแผล คัน หัวนมยุบลงหรือไม่
- เริ่มคลำเต้านมโดยใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง ของมือด้านตรงกันข้ามวางที่เต้านม แล้วกดสัมผัสเบาๆ ถูวนจากหัวนมออกตามเข็มนาฬิกา ถูวนไปจนทั่วเต้านม
- บีบที่หัวนมเบาๆเพื่อทดสอบดูว่ามีน้ำไหลออกมาทางเต้านมหรือไม่
- หากตรวจพบความผิดปกติ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
ก้อนที่เกิดในเต้านม มี 3 กลุ่ม
- ซีสต์เต้านม
- เนื้องอกเต้านม ไม่ร้ายแรง
- มะเร้งเต้านม
รู้หรือไม่?
- ขนาดของหน้าอกใหญ่หรือเล็กไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม
- ผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 เปอร์เซ็นต์
- การกระแทกหรือรัดหน้าอกมากๆ ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม
- ถ้าคลำเจอก้อนบริเวณหน้าอกอย่าเพิ่งตกใจ เพราะส่วนมากมักจะไม่ใช่มะเร็ง อาจเป็นก้อนถุงน้ำ ซีสต์ หรือก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง
- เมมโมแกรมคือการเอ็กซเรย์เต้านม
- คนที่รักษาไปแล้วยังคงต้องตรวจเช็คเต้านมเป็นประจำ เพราะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้
- การตรวจคลำเต้านมด้วยตัวเองต้องคลำบริเวณรักแร้ด้วย
- มะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากที่สุด เฉลี่ย 1 ใน 8 คน ของประชากรเพศหญิง ซึ่งในแต่ละปีมีผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมทั่วโลกถึง 1.7 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 500,000 คน ต่อปี
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ด้วยวิธีการที่แนะนำไว้ข้างต้น
- อายุ 20-40 ปี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุกๆ 3 ปี
- อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรไปพบแพทย์และตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปี