กล่องโฟม
กล่องโฟม และถุงพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหาร ที่เรารับประทานกันเป็นประจำนั้น มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าเราสังเกตุให้ดี กล่องโฟมบางประเภทจะมีคำเตือนระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “ไม่ควรนำมาใส่อาหาร หรือไม่ควรนำมาใส่ของร้อน”
ส่วนถุงพลาสติกที่ใช้ตามท้องตลาดนั้น มีมากมายหลายประเภท แต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะการใช้ที่แตกต่างกัน แต่หากนำถุงพลาสติกมาใช้ผิดประเภทอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
อันตรายจากกล่องโฟม
การใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกอย่างผิดประเภท เป็นสาเหตุใหญ่ๆ ที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะผู้ชายที่ทานเข้าไปมากๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ในขณะที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และทั้งสองเพศมีโอกาสสูงที่จะเป็น มะเร็งตับ
และยังทำให้สมองมึนงง สมองเสื่อมง่าย หยุดหงิดง่าย ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยเฉพาะบางร้านที่ใช้ถุงพลาสติกรองกล่องโฟมด้วย จะทำไห้ได้รับสารก่อมะเร็งเพิ่มขึ้น 2 เท่า ถ้าถุงที่ใช้นั้นผิดประเภท
หญิงมีครรภ์ที่กินอาหารบรรจุในกล่องโฟม ลูกมีโอกาสสมองเสื่อม เป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ
ส่วนคนทั่วไป ถ้ากินอาหารบรรจุกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า
ถุงพลาสติกที่นิยมใช้ในท้องตลาด
- ถุงเย็น มีลักษณะค่อนข้างใส นิ่ม ยืดหยุ่นพอสมคร นิยมใช้บรรจุอาหารแช่แข็ง
- ถุงร้อน มีลักษณะใสมาก และมีความกระด้างมากกว่าถุงเย็น ไม่ยืดหยุ่น สามารถบรรจุอาหารที่มีไขมันและความร้อนได้ เพราะสามารถทนความร้อนได้ถึงจุดเดือด 100-120 องศาเซลเซียส แต่สำหรับอาหารทอดเสร็จใหม่ ๆ อาจมีอุณหภูมิสูงกว่า ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ควรพักอาหารทอดให้คลายความร้อน ก่อนบรรจุใส่ถุง
- ถุงหูหิ้ว หรือถุงก๊อปแก๊ป ส่วนใหญ่เป็นถุงที่ถูกใช้แล้ว และนำกลับมารีไซเคิลใหม่ จึงไม่ควรนำไปบรรจุอาหาร โดยเฉพาะอาหารร้อน หรืออาหารที่มีไขมัน เช่น กล้วยทอด ของทอด เพราะจะทำให้สารเคมีในถุงพลาสติกออกมาปนเปื้อนกับอาหาร
- ฟิล์ม หรือ ถุงพลาสติกห่อหุ้มอาหาร การใช้ฟิล์มยืดปิดภาชนะระหว่างการอุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ สามารถเก็บความชื้น ช่วยให้อาหารร้อนเร็วขึ้นได้ แต่ไม่ควรใช้เพื่อทําให้อาหารสุก และควรระมัดระวังการใช้ฟิล์มยืด อย่าให้สัมผัสกับอาหารโดยตรง ควรห่างกันอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว เพราะถ้าฟิล์มยืดสัมผัสกับอาหาร ฟิล์มยืดจะได้รับความร้อนสูง และอาจละลายติดอาหารที่จะทานเข้าไปได้
การนำถุงเย็นไปบรรจุอาหารร้อน หรือ นำถุงหูหิ้วไปบรรจุอาหารประเภทต่างๆ ถือเป็นการใช้ถุงที่ผิดประเภท และสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เมื่อได้รับเป็นประจำ จะเกิดการสะสม และก่อให้เกิดมะเร็งได้
กล่องโฟมทำมาจากอะไร?
กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป เป็นของเสียเหลือทิ้ง สีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วยสารสไตรีน (Styrene) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย และสหรัฐอเมริกาได้ประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็งแล้ว
ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารสไตรีนจากกล่องโฟม
- อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
- ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
- ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นาน ๆ ไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
- ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก
- ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมาก ๆ รวมถึงร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร ขอบอกว่าได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด
- การเลือกใช้ถุงพลาสติก และกล่องโฟมให้เหมาะสมกับอาหารที่ใส่ หรือถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในกล่องโฟม แล้วหันไปใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน
- ใช้ไบโอชานอ้อยแทนกล่องโฟม เพราะสามารถทนอาหารที่มีอุณหภูมิสูงๆ ได้ ปลอดสารก่อมะเร็ง และไม่มีผลกระทบต่อระบบประสาท และระบบฮอร์โมน สามารย่อยสลายได้ภายใน 45 วัน เป็นการลดโลคร้อนได้ หรือจะใช้ปิ่นโตแทนจะดีที่สุด
- ไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติก สารสไตรีนมีโอกาสวิ่งเข้าในเปลือกไข่ได้เช่นกัน ถ้าเลือกไข่ดิบ ควรเลือกซื้อจากแผงไข่กระดาษจะปลอดภัยที่สุด
- ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่เป็นกรด เช่น นํ้าส้มสายชู เพราะกรดจากนํ้าส้มสายชูอาจทําปฏิกิริยากับภาชนะพลาสติกได้ จึงควรใช้ภาชนะที่ทําจากวัตถุที่ทนความเป็นกรดและด่างได้ เช่น ภาชนะสเตนเลสจะปลอดภัยกว่า
- ไม่ควรใช้ภาชนะพลาสติกบรรจุอาหารที่ร้อนจัด หรือมีความมันมากๆ โดยเฉพาะนํ้าร้อนเดือด ความร้อนจะทําให้สีจากภาชนะละลายปนออกมา ทำให้ร่างกายได้รับโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู และแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายของเรา อาจจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย และโรคมะเร็ง