โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น (ADHD) คำพูดที่ว่าเด็กซนคือเด็กฉลาดนั้นไม่จริงเสมอไป เพราะถ้าหากลูกหลานของคุณมีอาการซนมากๆ อารมณ์หุนหันพลันแล่น และสมาธิสั้น แสดงว่าพวกเขาอาจจะกำลังประสบปัญหาของโรคสมาธิสั้นอยู่
ซึ่งถ้าหากเป็นภาวะนี้แล้ว เขาต้องการการดูแลเป็นพิเศษ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และที่สำคัญจากแพทย์ด้วย
โรคสมาธิสั้นนั้นไม่ได้เป็นแต่เฉพาะเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้เหมือนกัน
อาการของคนเป็น โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งจะพบบ่อยในเด็กวัยเรียน ซึ่งอาการของโรคสมาธิสั้นนั้น จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก
- ขาดสมาธิ ไม่สามารถที่จะจดจ่อทำอะไรได้นาน เหม่อลอย หลงลืม และในกลุ่มเด็กนักเรียนนั้น ก็อาจจะสังเกตุได้ เวลาที่คุณครูสอน จะมีอาการเหม่อลอย ไม่ฟังครู หลงลืม ของหายบ่อย
- ซนอยู่ไม่นิ่ง ชอบวิ่ง ปีนป่าย ไม่อยู่นิ่ง
- หุนหันพลันแล่น ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เวลาโกรธ เสียใจ ผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจ จะแสดงอารมณ์รุนแรงออกมาทันทีโดยไม่ได้ยั้งคิด
เด็กซนที่เข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้น
เด็กซนมากผิดปกติ สังเกตุได้ เช่น อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับตัว ทำนั้นทำนี่อยู่ตลอดเวลา สนใจอะไรที่ชอบก็จะจดจ่อได้นาน แต่ถ้าเป็นอะไรที่ไม่ชอบหรือเป็นเรื่องเรียน เขียน อ่าน จะไม่มีสมาธิ
สมาธินั้นวัดจากงานที่ทำ เช่น การบ้าน หรือเวลาฟังที่ครูสอน จะไม่สามารถจดจ่ออยู่ได้นาน ถ้าเทียบกับเด็กคนอื่นๆ ส่วน เกมส์ ทีวี หรือสื่อต่างๆ ไม่นับเพราะมีสิ่งเร้า ทั้งแสง เสียงตลอดเวลา
เป็นโรคสมาธิสั้นตอนเด็ก โตขึ้นจะหายไหม?
เนื่องจากสมาธิสั้น เป็นโรคเรื้อรัง จะเป็นตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ สามารถสังเกตุอาการได้ เช่น ไม่มีสมาธิจดจ่อกับการทำงาน อารมณ์เสียง่าย ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน เปลี่ยนงานบ่อยๆ และถ้ามีปัญหาดังกล่าวร่วมกับประวัติในวัยเด็ก อาจมีแนวโน้มเป็นโรคสมาธิสั้นได้
โดยปกติแล้วโรคสมาธิสั้น 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อโตขึ้นอาการจะทุเลาลง ประมาณ 1 ใน 3 แต่อีก 70 เปอร์เซ็นต์นั้น อาการยังคงอยู่ และมีผลแทรกซ้อนที่ตามมา
ในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้น จะไวต่อสิ่งเร้า มีปัญหาเรื่องการปรับตัวกับเพื่อนๆ มีแนวโน้มที่จะเสี่ยงในเรื่องของการใช้ยาเสพย์ติดได้ง่ายกว่าวัยรุ่นปกติทั่วไป
สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
- ปัจจัยทางชีวภาพ คือ เกิดจากพันธุกรรม
- ปัจจัยทางร่างกาย เช่น การทำงานของสมอง การทำงานที่ผิดปกติของระบบสารสื่อประสาท
- ปัจจัยจากสภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูจากครอบครอบ โดยจะพบว่าการเลี้ยงดูที่ไม่ค่อยมีความสม่ำเสมอในเรื่องของการฝึกระเบียบวินัย หรือการปรับพฤติกรรม
แต่ถามว่าการเลี้ยงดูอย่างเดียว จะเป็นสาเหตุของโรคใหม อันนี้ก็คงจะไม่ใช่ เพราะมีหลายปัจจัยที่จะไปกระตุ้น อาจจะเป็นปัจจัยไดปัจจัยหนึ่งไปกระตุ้น ทำให้อาการชัดเจนมากขึ้นมากกว่า
วิธีการรักษาอาการสมาธิสั้น
รับประทานยา
ทานยาตามที่แพทย์สี่งเท่านั้น พาเด็กไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อได้รับการประเมิน เพราะการวินิจฉัยจำเป็นจะต้องทราบประวัติจากหลายๆ ส่วน ทั้งจากผู้ปกครอง โรงเรียน เมื่อวินิจฉัยแล้ว การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือการับประทานยา
ซึ่งเป็นยาที่ช่วยเสริมในเรื่องของสมาธิ จะมีทั้งออกฤทธิ์สั้นและยาว ยาจะช่วยให้คงสมาธิ และยังลดความหุนหันพลันแล่น หรือการฝึกควบคุมตัวเองได้ง่ายมากขึ้น
จิตบำบัด
โดยการปรับการเลี้ยงดู และปรับพฤติกรรมเชิงบวกอย่างสม่ำเสมอ โรคนี้เด็กจะมีปัญหาทางด้านพฤติกรรม บางทีเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดี ผู้ปกครองก็มักจะแสองออกด้วยการ ดุ ด่า ตำหนิ ตี เพราะคิดว่าเด็ก นิสัยไม่ดี เราใม่ควรโทษเด็กแบบนั้น เพราะตอนนี้เขากำลังป่วยอยู่
ถ้าผู้ปกครองเข้าใจตรงจุดนี้ ก็สามารถช่วยในเรื่องของการปรับพฤติกรรมของเด็ก และให้เด็กได้มีความรู้สึกว่าเขาทำได้ เขาทำสำเร็จ เพื่อเป็นการต้นทุนการปรับพฤติกรรมต่อไป โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ก่อน พอทำได้แล้วก็ชมเขา ให้เขามีกำลังใจที่จะทำต่อไป
วินัยเชิงบวกคือ เจตคติ (attiude) หมายถึง ท่าทีหรือความรู้สึกนึกคิด ความชอบความชังของบุคคลต่อสิ่งไดสิ่งหนึ่ง
วิธีรักษาสมาธิสั้นในผู้ใหญ่
- ฝึกการสนใจในสิ่งไดสิ่งหนึ่ง โดยการกำหนดระยะเวลา
- ใช้ดนตรีบำบัด
- ฝึกคิด จินตนาการ
- การนั่งสมาธิ อาจจะใช้เวลาแค่สั้นๆ 3- 5 นาที ก่อนนอน ฝึกกำหนดลมหายใจ ก็จะช่วยให้เรานิ่งขึ้น
ถ้าได้รับการรักษามาแต่เนิ่นๆ รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้ผลกระทบที่จะตามมา ตรงนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาต่างๆในระยะยาว
ส่วนใหญ่เมื่อเด็กมีปัญหา อาจจะเป็นปัญหาสุขภาพจิต หรือพฤติกรรมที่รุนแรงแล้ว ผู้ปกครองถึงจะพามาพบจิตแพทย์ สิ่งนี้อยากให้ผู้ปกครองลองเปลี่ยนมุมมองต่อการมาพบจิตแพทย์เด็ก เพราะว่าจิตแพทย์เด็กนั้น ไม่ได้รักษาแค่โรคจิต
ซึ่งจริงๆ แล้วโรคจิตในจิตเวทเด็กนั้น มีแค่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และอื่นๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับการเรียน หรือพัฒนาการ พวกนี้มีมากกว่ามาก เพราะฉะนั้นถ้าสงสัย หรือว่าต้องการจะปรึกษา ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนินๆ จะดีกว่า
อาหารบำรุงสมอง ช่วยให้เด็กมีสมาธิ