การตรวจโรคจิตเภท
การตรวจโรคจิตเภท สมัยก่อนนั้นจะใช้การทดสอบทางจิตวิยา ร่วมกับการประเมิณอาการ แต่ล่าสุดนักวิจัยจากออสเตเรีย ได้ค้นพบการตรวจหาความผิดปกติได้ตั้งแต่เนินๆ ด้วยการตรวจเลือดเป็นที่สำเร็จแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นของการพัฒนาเทคนิคเพิ่มเติม
ซึ่งวิธีการแบบนี้ จะเป็นการตรวจหาความผิดปกติระดับลึกถึงโมเลกุลในยีน ซึ่งเหมาะกับการใช้ตรวจในกลุ่มเสี่ยง อย่างเช่น ใครที่มีญาติพี่น้องหรือว่าคนในครอบครัว ป่วยเป็นโรคจิตเภท ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็นพันธุ์กรรม ทำให้เป็นได้ด้วยเช่นเดียวกัน และการค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้แพทย์รักษาคนที่เป็นได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อาการของโรคจิตเภท
- คิดสับสน หลงผิด มีภาพหรือว่าเสียงหลอน
- แยกตัวจากคนอื่น ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร
- สื่อสารกับคนอื่นไม่ค่อยได้
ซึ่งสาเหตุมาจากพันธุ์กรรม รวมถึงสารเคมีในสมองเสียสมดุล
โดยประชากรทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิต 1 ใน 100 ส่วนคนเพี้ยนจะมีจำนวนมากกว่า 5 ถึง 10 เท่า เช่น ในองค์กรที่มีคนอยู่ประมาณ 50 ถึง 100 คน จะมีคนเพี้ยนประมาณ 1 คน
ลักษณะของคนเพี้ยนจะคล้ายๆกับโรคจิตเภท ซึ่งมีลักษณะดังนี้
- เป็นคนที่ไม่ค่อยมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับใคร แม้กระทั่งคนในครอบครัว
- เลือกทำงานหรือทำกิจกรรมคนเดียว หรือ เรียกว่าโลกส่วนตัวสูง
- ไม่ค่อยมีความสุขกับอะไรเป็นพิเศษ เรื่อยๆ ดีใจก็ไม่ดีใจ เสียใจก็ไม่ค่อยเสียใจ
- ไม่มีเพื่อนสนิท
- ไม่หวั่นใหวต่อคำสรรเสริญและนินทา
- แสดงความรู้สึกน้อย
คนเหล่านี้ฝันกลางวันได้ราวกับคนในฝันจริง และส่วนใหญ่เพศชายเสี่ยงเพี้ยนมากกว่าเพศหญิง