ไส้ติ่ง คืออะไร?
ไส้ติ่ง คือส่วนขยายของลำไส้ส่วนต้น อยู่บริเวณท้องน้อยด้านขาว มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายหนอน มีความยาวตั้งแต่ 2 – 20 เซ็นติเมตร ที่ปลายไส้ติ่งจะปิด ส่วนอีกด้านจะเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่
หน้าที่ของไส้ติ่งยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจจะมีหน้าที่ในการสะสมเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) คือ เป็นโรคปวดท้องอักเสบเฉียบพลันที่พบบ่อยในทุกเพศ ทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยทำงาน
เป็นโรคที่ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะมีอาการหลายแบบ ทำให้บางครั้งอาจเกิดการวินิจฉัยผิด คิดว่าเป็นลำไส้อักเสบได้ เพราะมีอาการปวดท้องคล้ายคลึงกับอาการปวดท้องทั่วไป ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือไม่
5 สัญญาณบ่งบอก ไส้ติ่งอักเสบ
- มีอาการปวดเฉียบพลันที่บริเวณสะดือ
- ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องน้อยด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะมีอาการปวดมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว มีอาการกดเจ็บ ที่สำคัญอาการปวดจะไม่ดีขึ้น
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- อาจมีไข้ ท้องเสีย ท้องผูก หรือท้องอืดร่วมด้วย
- มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่ง ไปกระตุ้นท่อไตของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งอยู่ใกล้กัน
ถ้ามีอาการเหล่านี้ และสงสัยว่าอาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เกิน 2-3 วัน หรือ เกิน 48-72 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และไส้ติ่งแตกได้
อาการไส้ติ่งอักเสบอื่นๆ
- ในคนอ้วนจะตรวจได้ยาก อาจปวดแต่กดไม่เจ็บ
- หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการปวดด้านขวาขึ้นไปถึงลิ้นปี่ได้ เนื่องจากไส้ติ่งถูกมดลูกดันขึ้นมา ถ้ามีอาการไม่แน่ใจให้รีบพบแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในครรภ์
- มดลูกบีบตัว
- เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ
- ต้องกดท้องอยู่ตลอดเวลา
- มีอาการปวดนานเกิน 6 ชั่วโมง
- กดบริเวณที่มีอาการแล้วรู้สึกปวดมากขึ้น
ไส้ติ่งอักเสบเกิดจากอะไร ?
- ไส้ติ่งอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากมีสิ่งแปลกปลอมไปอุดตันภายในไส้ติ่ง เช่น ก้อนอุจจาระ เศษอาหาร หิน ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อ และบวมขึ้น
- เป็นก้อนเนื้อมะเร็ง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกายและต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่ง เกิดปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้น จนไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการอักเสบ
- ภาวะการอักเสบบางอย่างที่ทำให้ต่อน้ำเหลืองโต เช่น เป็นหวัด
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และการติดเชื้อรา โดยเชื้อเหล่านี้จะกระจายไปยังบริเวณไส้ติ่ง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบ
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตรวจวินิจฉัย
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย
- การกดท้อง เพื่อดูอาการเจ็บเฉพาะที่
- ถ้าอาการไม่ชัดเจน จะตรวจเลือดดูเม็ดเลือดขาว และตรวจปัสสาวะร่วมด้วย
- ตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ หรือคอมพิวเตอร์
- การถ่ายภาพรังสีช่องท้อง
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
วิธีรักษาโรคไส้ติ่งอักเสบ
- รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบทางหลอดเลือดดำ ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด ซึ่งจะใช้เวลา 3-5 วันในการใช้ยา โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้คือ ยาเมโฟท็อกซิน (mefotoxin) และ ยาเซฟโฟทีแทน (cefotetan)
- การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery)สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน ไส้ติ่งยังไม่แตก จะใช้กล้องเล็กๆ ในกาผ่าตัด ทำให้แผลเล็กและหายเร็ว
- ผ่าตัดแบบเปิด (open Surgery) ถ้าไส้ติ่งยังไม่แตก จะเปิดแผลเล็กบริเวณท้องน้อยด้านซ้าย ความกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว แต่ถ้าไส้ติ่งแตกแล้ว จะเปิดแผลใหญ่เพื่อทำความสะอาดช่องท้องให้สะอาด จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และอาจจำเป็นต้องทำการใส่ท่อเพื่อระบายหนองออก
การป้องกันไส้ติ่งอักเสบ
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคไส้ติ่งอักเสบ เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ จึงทำได้แค่เพียงลดความเสี่ยงเท่านั้น
โดยป้องกันไม่ให้มีอาการท้องผูก รับประทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ หากพบว่ามีอาการติดเชื้อ หรือมีอาการอักเสบที่ลำไส้ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษา เนื่องจากการอักเสบนั้นอาจลุกลามไปถึงไส้ติ่งได้เช่นกัน
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไส้ติ่ง
- รักษาความสะอาดอยู่เสมอ และล้างมือก่อนสัมผัสแผลทุกครั้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย และผลไม้สุกกากใยสูง เช่น มะม่วงสุก หรือมะละกอสุก เป็นต้น
- งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา และกาแฟ
รู้หรือไม่?
- งานวิจัยพบว่า แค่การทานยาปฏิชีวนะก็สามารถรักษาไส้ติ่งอักเสบให้หายได้ โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและทดลอง แต่สำหรับผู้ป่วยที่ไส้ติ่งแตกแล้ว ยังต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
- ผู้ป่วยบางรายที่เป็นผู้ป่วยสูงอายุ เป็นเบาหวาน โรคไตวาย ภูมิร่างกายอ่อนแอ เมื่อไส้ติ่งแตก มีหนองในท้อง จะมีการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
- โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่คล้ายคลึงกันกับโรคปวดท้องทั่วไป แต่อาจจะแตกต่างตรงที่มีอาการปวดมากกว่าปกติ
งานวิจัยรักษาไส้ติ่งโดยไม่ต้องผ่าตัด