ไมเกรน เกิดจากอะไร ?
ไมเกรน เกิดจากอะไร ยังไม่มีใครทราบได้ชัดเจน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นประสาทไตรเจอมินอล (trigeminal nerve)ในสมอง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทไตรเจอมินอล (trigeminal nerve)
อาการปวดผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและมักเป็นในช่วงอายุ 10 ถึง 40 ปี และอาการมักหายไปในช่วงหลังจากอายุ 50 ปี โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ถึงแม้เราจะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคไมเกรน แต่เราก็ทราบดีว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคได้
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน
- ตัวกระตุ้นอันดับที่หนึ่ง คือการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้หญิงที่เป็นไมเกรน มักมีอาการปวดศีรษะในช่วงรอบเดือน ไมเกรนในผู้หญิงมักมีอาการแย่ลง ในช่วงเข้าวัยแรกรุ่น และมักจะหายไปหลังหมดประจำเดือน
- ความเครียด ความหิว การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหลับ
- สารปรุงแต่งอาหารที่มีส่วนประกอบของไทรามีน (tyramine)
- อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะไวน์แดงและเบียร์ บุหรี่ เนยแข็งที่มีอายุนานแล้ว ช็อกโกแลต อาหารหมักดอง ผงชูรส สารแอสพาร์เทม คาเฟอีน
- การทำงานนานๆ กับหน้าจอที่มีความเคลื่นไหวไปมา เช่น คอมพิวเตอร์
- การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
- การสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่
- เสียงดัง และมีแสงจ้า
- การดื่มน้ำน้อย ร่างกายขาดน้ำ
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับบางชนิด ยาคุมกำเนิด และการทานฮอร์โมนทดแทน
อาการปวดหัวไมเกรน
อาการปวดหัวไมเกรนน จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการต่างกันไป
- อาการเตือนก่อนที่จะปวดหัวไมเกรน (prodrome) ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกอ่อนเพลีย มีอารมณ์แปรปรวน อาจรู้สึกร้อนมากหรือหนาวมาก และอยากทานอาหารมากขึ้น บางรายอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายวันก่อนมีอาการปวดหัวไมเกรน
- เห็นแสงวูบวาบ (aura) ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการทางสายตา ที่รวมถึงการมองเห็นแสงวูบวับ แสงกะพริบ หรือมีจุดบอดในขณะมองภาพ มองเห็นเส้นที่มีสีสันสดใส หรือเห็นภาพซ้อน ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปเองใน 15 ถึง 30 นาที
- ระยะปวดศีรษะไมเกรน (headache) จะมีอาการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรุนแรง โดยมีอาการปวดตุ๊บๆ เป็นจังหวะ อาการปวดมักจะแย่ลงเมื่อขยับตัว หรือเอียงตัวไปข้างหน้า และบางคนอาจมีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรงร่วมด้วยได้ รวมถึงมีภาวะไวต่อเสียงและแสง
- และมักจะมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และผู้ป่วยบางรายอาจไวต่อแสงหรือเสียงดัง ซึ่งอาการปวดศีรษะอาจยาวนาน 4-72 ชั่วโมง
- ระยะหายปวด (resolution) โดยอาการปวดศีรษะและอาการอื่น ๆ จะค่อย ๆ ลดลง ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจจะมีความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งอาจกินระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากหายปวดศีรษะ
อาการไมเกรนอาจใช้เวลานาน 4 ชั่วโมงไปจนถึง 3 วัน และผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลียมากหลังอาการปวดศีรษะหายไป
การรักษา และการปฏิบัติตัว
- ทานยาแก้ปวดทันที่เมื่อมีอาการ และนอนนิ่งๆ ในห้องที่มืดและเงียบ รวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นทุกชนิด โดยเฉพาะแสงแดดจ้า เสียงดัง
- ประคบเย็นหรือประคบด้วยน้ำแข็ง เพื่อลดอาการไมเกรน
ยาแก้ปวดหัวไมเกรน
- ยาพาราเซตามอล แต่ห้ามรับประทานเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม เนื่องจากยาเป็นพิษต่อตับ
- ยารักษาโรคซึมเศร้า ยากันชัก เบต้า บล็อกเกอร์ เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้สามารถช่วยยับยั้งและป้องกันอาการปวดศีรษะได้
- ยาที่ช่วยรักษาแบบฉับพลัน เช่น ยาทริปแทนส์ (Triptans) และเออร์กอตส์ (Ergots) ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ช่วยลดภาวะไวต่อเสียงและแสง ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อรับประทานทันทีหลังมีอาการปวดศีรษะ
แก้แก้ปวดในข้อ 2 และข้อ 3 ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นการกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรน
- ไม่อยู่กลางแดดแรง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และช่วยลดความเครียดได้
อาการปวดศีรษะรุนแรงหลังหยุดกินยาแก้ปวด
อาการปวดศีรษะที่เป็นผลกระทบหลังจากหยุดยานั้น อาจเป็นได้ในผู้ที่ใช้ยาแอสไพริน หรือยาแก้ปวดพื้นฐานบางชนิด เช่น ยาพาราเซตตามอล หรือไอบูโพรเฟน ซึ่งผู้ป่วยใช้ยามากกว่า 10 วัน ต่อเดือน
โดยการใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาแก้ปวดมากกว่าหนึ่งอย่าง หรือยากลุ่ม triptan เช่น almotriptan rizatripan sumatriptan หรือยาแก้ปวดประเภทสารเสพติด เช่น codeine
ซึ่งยาเหล่านี้มักจะมีผลดีในระยะสั้น แต่หลังจากหยุดยา อาการปวดจะกลับมาและรุนแรงกว่าเดิม
ดังนั้นหากคุณหายามากินเพื่อแก้อาการปวด วงจรที่ย่ำแย่นี้ก็มักจะตามมาเสมอ สุดท้ายก็จะจบลงที่อาการปวดศีรษะตื้อๆ ลักษณะเป็นทั้งสองข้างของศีรษะ ซึ่งมักจะปวดมากขึ้นเมื่อยาหมดฤทธิ์
หากคุณคิดว่าคุณมีอาการปวดศีรษะที่เป็นผลกระทบหลังจากหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
รู้หรือไม่?
- อาการปวดหัวไมเกรนมักจะเป็นรุนแรง และนานกว่าอาการปวดหัวจากความเครียดทั่วไป
- ลักษณะอาการปวดหัวไมเกรน มักปวดเป็นบริเวณจำเพาะ และมักจะปวดหนักรอบดวงตาเพียงข้างเดียว
- อาการปวดหัวที่รุนแรง และปวดหัวข้างเดียวนั้น มักจะมาจากโรคไมเกรน