โลหิตจาง
ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยมากๆ อยู่เฉยๆก็เหนื่อย กลายเป็นคนที่อ่อนเพลียง่าย วูบบ่อยๆ อาจเป็นอาการเริ่มต้นของ โรค โลหิตจาง หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาวะซีด
โลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้การขนออกซิเจนไปเลี้ยงตามเซลล์ต่างๆ ของร่างกายทำได้ไม่ดี มีการเสียเลือดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือเป็นผู้ป่วยที่เสียเลือดเรื้อรัง ร่วมไปถึงคนที่ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี12 กรดโฟลิก
หากโลหิตจางเกิดขึ้นถึงขั้นรุนแรง อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานมากขึ้นจนถึงขั้นหัวใจล้มเหลวและอาจเป็นโรคธาลัสซีเมียได้
สาเหตุของโรคโลหิตจาง
- การเสียเลือดมากจนทำให้มีเม็ดเลือดแดงและธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เช่น อุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
- ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขาดธาตุเหล็ก การติดเชื้อเรื้อรังของไขกระดูก โรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ การอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ หรือแม้แต่มะเร็งที่แพร่กระจายไปที่ไขกระดูก เป็นต้น
- เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติหรือถูกทำลายมากผิกปกติ เช่น เป็นโรคธาลัสซีเมียที่ภูมิคุ้มกันเกิดทำลายเม็ดเลือดตัวเอง เป็นต้น
อาการของโรคโลหิตจาง
- ภาวะโลหิตจางจะมีอาการร หน้าซีด เยื่อบุตาหรือริมฝีปากซีด
- ขี้หนาว
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีเรียวแรง หน้ามืดเป็นลมบ่อย วูบบ่อยๆ
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
หากท่านพบว่ามีอาการเหล่านี้ ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะโลหิตจาง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร หากไม่ใส่ใจและปล่อยทิ้งไว้จนเป็นมาก อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
การรักษาโรคโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจางจะรักษาตามสาเหตุ ประกอบกับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้เลือดหรือการให้เกลือแร่เสริมอาหาร เพื่อช่วยบำรุงและกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก บี6 บี12 อย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมทานอาหารที่มีวิตามินซีด้วย เพราะวิตามินซีจะเป็นตัวไปช่วยดูดซึมธาตุเหล็กเพื่อบำรุงเลือด
รู้หรือไม่?
- ผู้ชายจะมีเลือดเข้มข้นกว่าผู้หญิง เพราะฮอร์โมนเพศชายจะช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ส่วนผู้หญิงจะมีประจำเดือน ทำให้เกิดการเสียเลือดทุกเดือน
- คนเป็นโลหิตจางไม่สามารถบริจาคเลือดได้
- การตรวจร่างกายประจำปีจะมีการตรวจโลหิตจางรวมอยู่ด้วย
- โลหิตจางรักษาได้ตามสาเหตุของการเกิดโรค
- หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงภาวะโลหิตจางมากกว่าคนธรรมดา
- ธาตุเหล็กมีมากในผักใบเขียว เนื้อแดงและตับ