โรคริดสีดวงทวาร
โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) เป็นโรคที่คนเป็นเยอะมาก มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมาจากรูทวารหนัก อุจจาระเป็นเลือด แต่ไม่มีมูกเลือดปน
เวลาถ่ายออกมา จะมีก้อนแข็งๆ อยู่ที่บริเวณทวารหนัก พอจับจะรู้สึกเจ็บและคัน แต่ส่วนมากจะเริ่มจากคันก่อน บางคนคิดว่าตัวเองเป็นพยาธิแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่
ริดสีดวงทวาร มี 2 ชนิด
- ชนิดที่อยู่ข้างใน เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในส่วนลึกเข้าไป ซึ่งบริเวณนี้จะไม่มีเส้นประสาททำให้ไม่รู้สึกเจ็บ บางคนอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเป็นริดสีดวงทวาร กว่าจะรู้ก็มีเลือดออกมากับอุจจาระแล้ว
- ชนิดที่อยู่ข้างนอก ที่เราเห็นเป็นติ่งเนื้อยื่นออกมา บางคนจะมีอาการเจ็บๆ คันๆ หรือบางครั้งปวดทรมารมาก
สาเหตุ
- ท้องผูกเป็นประจำ การที่เราเบ่งอุจจาระบ่อยๆ เป็นการเพิ่มแรงดันในช่วงท้อง ทำให้เส้นเลือดบริเวณนี้ขยายตัว โป่งพองและบวมขึ้น สะสมไปเรื่อยๆ ทีละนิด สุดท้ายก็เป็นก้อนเนื้อยื่นออกมา
- ท้องเสียเรื้อรัง เกิดการระคายเคืองทำให้เส้นเลือดบวมปูด และเป็นก้อนเนื้อยื่นออกมาได้
- เกิดจากาการเป็นโรคอื่น เช่น โรคเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิต หรือโรคเกี่ยวกับตับ ทำให้ความดันของหลอดเลือดในช่องท้องและทวารเปลี่ยนไป
- เกิดจากพฤติกรรมการขับถ่ายที่ผิด เช่น เบ่งมากๆ นั่งนานๆ ซึ่งมีโอกาสทำให้เนื้อเยื่อในทวารไหลออกมาได้ง่าย
- อั้นอุจจาระ ทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดเอาน้ำกลับ เป็นสาเหตุให้อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก ต้องเพิ่มแรงเบ่งขึ้น ทำให้มีโอกาสถ่ายเป็นเลือดได้
อาการ แบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 แผลจะยังอยู่ในทวารหนัก มักจะมีเลือดออกหลังถ่ายเสร็จ ซึ่งลักษณะของเลือดที่ออกจากริดสีดวงทวารหนัก จะเป็นเลือดสดแดงเหมือนกับเราโดนมีดบาด
แต่ถ้าเป็นเลือดออกจากภายในจะเป็นเลือดที่ป่นมากับอุจจาระจะไม่ออกมาเป็นเลือดสดๆ อาจเกิดจากสาเหตุของโรคอื่น ทางที่ดีควรไปพบแพทย์เมื่อมีเลือดออกมากับอุจจาระ เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ระยะที่ 2 จะมีก้อนเนื้อยื่นออกมาทางทวารหนักหลังจากถ่าย และจะผลุบกลับเข้าไปได้เอง เพราะก้อนยังเล็กอยู่ เข้าๆออกๆ อาจยังมีเลือดออกร่วมด้วยและมีอาการเจ็บได้
ระยะที่ 3 มีก้อนเนื้อยื่นออกมาทางทวารหนัก ต้องใช้นิ้วดันถึงจะกลับเข้าได้ อาจมีลิมเลือด และมีอาการเจ็บปวด
ระยะที่ 4 ระยะสุดท้าย ไม่สามารถดันก้อนเนื้อที่ยื่นออกมากลับเข้าไปได้ ซึ่งระยะนี้เริ่มอันตรายแล้ว เพราะบางครั้งอาจมีการกดรัด หรือลิ่มเลือดเข้าไป ทำให้เกิดการเน่าและอักเสบได้
การดูแลตนเองเบื้องต้น
- ถ้าเนื้อเยื่อที่ยื่นออกมาบวมมากดันกลับเข้าไม่ได้ ให้ใช้น้ำตาลทรายโรยตรงก้อนเนื้อ น้ำตาลทรายจะไปดูซับน้ำทำให้ยุบบวมลง ทำให้สามารถดันกลับเข้าไปได้
- นั่งแช่น้ำอุ่น 10-15 นาที วันละ 3 ครั้ง ช่วยลดอาการปวด และทำความสะอาด
การรักษา ริดสีดวงทวาร
- ระยะที่ 1-2 รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนัก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และสร้างความแข็งแรงของหลอดผนังเลือด อาจใช้ร่วมกับยาระบายได้เมื่อมีอาการท้องผูก
- ระยะที่ 2-3 ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวาร เพื่อให้เกิดพังผืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เอง หรือยิงยางรัดหัวริดสีดวง ห่วงจะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อ และหลุดออกไปเองประมาณ 3-7 วัน แต่ต้องใช้ยาชา จะรู้สึกเจ็บธรรมดาเหมือปวดถ่าย ไม่เจ็บมาก
- ระยะที่3-4 ริดสีดวงที่มีการอักเสบ ต้องรักษาโดยการผ่าตัด ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังผ่าตัดอาจต้องนอนโรงพยาล 1 คืน
รักษาให้หายขาดได้ใหม?
สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการถ่ายอุจจาระ เพราะการปล่อยให้ท้องผูก ถ่ายไม่เป็นเวลา ชอบนั่งส้วมเป็นเวลานานๆ เช่น เอาหนังสือเข้าไปอ่าน หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ไม่ทานผักผลไม้ อันนี้ก็จะทำให้โรคริดสีดวงกลับมาเป็นใหม่ได้
วิธีป้องกัน
- กินอาหารมีกากใยสูง
- ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาแฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำทำให้อุจจาระแข็งและถ่ายลำลาก
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลาและสม่ำเสมอ
คนที่เสี่ยงเป็นโรคริดสีดวงทวาร
- หญิงตั้งครรภ์ เพราะเด็กที่อยู่ในท้องไปบีดเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี และมักมีอาการท้องผูก
- อายุมากขึ้น เซลล์เริ่มเสื่อมก็อาจทำให้เกิดปัญหาริดสีดวงขึ้นได้
- กรรมพันธุ์
สำหรับผู้ที่อายุมาก หรือมีประวัติเป็นมะเร็งในครอบครัว แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นริดสีดวงทวารหรือมะเร็ง