โรคปอดบวม
โรคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบในเด็ก เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของเด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งในแต่ละปี จะมีเด็กจากทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบ มากถึง 2.4 ล้านคน
โรคปอดบวมหรือโรคปอดอักเสบในเด็ก คือการอักเสบติดเชื้อของเนื้อปอด รวมทั้งหลอดลมและถุงลมทำให้การความสามารถในการทำงานของทางเดินหายใจลดลง เป็นโรคที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุ่นแรง บางครั้งอาจทำให้เด็กพิการ และเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก
ติดเชื้อได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย มีเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดจาก เชื้อรา พยาธิ อาการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป
เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอ เข้าไปในหลอดลมตอนปลาย หรือถุงลมปอด เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัว และก่อให้เกิดโรคปวดอักเสบตามมา ทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย การแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้
ถ้าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ ลูกสามารถติดต่อคุณแม่ได้ทางสายสะดือ เลือดหรือน้ำคร่ำ ซึ่งทำให้ลูกป่วยตั้งแต่แรกเกิด แต่ไม่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
เด็กที่เสี่ยงเป็นโรคปอดบวม
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง และท่อทางเดินหายใจมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก และไม่สามารถที่จะขับเสมหะได้ด้วยตัวเอง การไอหรือการสั่งน้ำมูกไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เชื้อโรคไม่มีการระบายออกจากร่างกายได้อย่างดีเหมือนในผู้ใหญ่
- กลุ่มเด็กที่มีความผิดปกติของท่อทางเดินหายใจ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ กลุ่มนี้ก็จะมีการสำลักได้ง่าย
- กลุ่มที่ผู้ปรกครองไม่สามารถเลี้ยงลูกได้เอง ต้องไปอยู่เดย์แคร์ หรือเนอสเซอรี่ เด็กจะสัมผัสกับเชื้อโรคอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะต้องเลี้ยงรวมกับเด็กคนอื่นๆ
- ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบ
อาการเริ่มแรกของโรค
- ผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะมีไข้ น้ำมูกใหล ไอ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ เริ่มมีอาการหายใจลำบาก
- ผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการเกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น
- ดูป่วยหนัก ไอมาก และมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้
- อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ กระสับกระส่าย งอแง
- มีอาการหนาวสั่น สำหรับในเด็กทารกอาจมีอาการไข้ หรือไม่มีก็ได้
การตรวจวินิจฉัยโรคปอดบวม
- ตรวจสอบประวัติว่ามีไอ น้ำมูก หรือหายใจเร็วหรือไม่
- ตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ปอด จะรู้ผลได้ดีที่สุด
การรักษาโรคปอดบวม
- ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
- ให้ยาขยายหลอดลม เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ที่มีภาวะหลอดลมไวต่อการกระตุ้น หรือในรายที่เป็นโรคหืด มักเกิดปัญหาหลอดลมหดเกร็งเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตอบสนองดีต่อยาขยายหลอดลม
- ให้ออกซิเจน แพทย์จะพิจารณาให้ออกซิเจนกับเด็กที่ตัวเขียว หอบมาก มีอาการซึม หรือกระวนกระวาย ไม่ยอมกินนมและน้ำ หายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที
- ให้สารน้ำและอาหารในปริมาณที่พอเพียงต่อความต้องการของผู้ป่วย ประโยชน์ของการให้สารน้ำที่เหมาะสมและเพียงพอ จะช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และสามารถขับเสมหะออกจากร่างกาย โดยการไอได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการทดแทนการสูญเสียน้ำจากร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากภาวะไข้สูงและหายใจหอบเร็ว
ในแต่ละราย อาการจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค ซึ่งจะมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป แต่ถ้าผ่านไป 24 – 48 ชั่วโมง
เด็กที่ได้รับการรักษาแล้ว หรือยังไม่ได้รับการรักษามีอาการแย่ลง ควรคิดได้เลยว่าเป็นโรคปอดบวม เพราะฉะนั้นต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
วิธีป้องกัน
- หลีกเลี่ยงไปในสถานที่ที่มีเชื้อโรค
- รักษาความสะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
- อย่าให้เด็กเอาของเล่นเข้าปาก
- ดูและสุขภาพช่องปากอยู่เสมอไมให้ฟันผุ เพราะจะทำให้ติดเชื้อในลำคอ
- การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ ควรฉีดให้ครบโดยเฉพาะวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ วัคซีนป้องกันโรคหัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกัน IPD
ข้อที่ควรระรังวังมากที่สุดสำหรับเด็กที่ทั้งป่วยและไม่ป่วยเป็นปอดอักเสบ คือ ต้องระวังไม่ให้เด็กเกิดการสำลัก ไม่ว่าจะเป็นนมหรืออาหาร เพราะการสำลักเป็นต้นเหตุของการเกิดปอดอักเสบ
ลูกเป็นโรคมือเท้าปาก ควรทำอย่างไร?