โรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเด็กๆ ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน หรือมีภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งชื้อโรคนี้จะอาศัยอยู่ในดิน สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลจากของมีคมบาด ตะปูทิ่ม ถูกสัตว์กัดหรือขว่น แผลติดเชื้อจากการผ่าตัด แผลไฟไหม้ แผลในช่องปากที่ติดเชื้อ แผลเบาหวานที่ติดเชื้อ เป็นต้น
บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคติดเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตมานิ (Clostridium tetani) มีพิษต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการหดเกร็งตัวหรือกระตุกอยู่ตลอดเวลา
ติดเชื้อบาดทะยักได้อย่างไร?
- เชื้อบาดทะยักจะเข้าสู่ร่างกายทางแผลสด เช่น ถูกของมีคมบาด ตะปูตำ เข็มตำ แม้กระทั้งกิ่งไม้ตำ หรือการถูกสัตว์เลี้ยงกัด
- ในเด็กแรกเกิดที่ตัดสายสะดือไม่สะอาด
- การใช้ยาหรือแป้งฝุ่นพอกสะดือเด็ก อาจทำให้เกิดบาดทะยักได้
อาการของโรคบาดทะยัก
- อาการของโรคบาดทะยักจะขึ้นอยู่กับพิษของโรค แต่อาการโดยทั่วไปคือ ผู้ป่วยจะปวดเกรง หรือมีอาการเจ็บปวดบริเวณบาดแผล
- ต่อมาจะมีอาการกระวนกระวาย ปวดศีรษะ
- อาจมีไข้สูง เหงื่อออกมาก
- โดยมากจะเป็นที่กล้ามเนื้อของขากรรไกร ทำให้ขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ขึ้น กล้ามเนื้อส่วนคาง และคอหดเกร็ง มองดูคล้ายยิ้มแสยะ คอเริ่มแข็ง กลืนอาหารลำบาก ทำให้การหายใจ และการควบคุมการทำงานของหัวใจผิดปกติ
- ต่อมาจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อตามร่างกาย แขน และขา
- ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการไวต่อเสียงและแสง ทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น
- อาจมีความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
- ถ้ามีอาการชัก เกร็ง กระตุกนาน อาจเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายได้
อาการเหล่านี้จะเริ่มปรากฏขึ้น เมื่อร่างกายได้รับเชื้อแล้วประมาณ 2วัน ถึง 2 เดือน แต่บางคนอาจช้า หรือเร็วกว่านั้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ภายใน 10-14 วัน ถ้าหากรักษาไม่ทัน อาจทำให้หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้
ในบางรายอาจมีกล้ามเนื้อหดเกร็งเฉพาะบริเวณที่เกิดแผล ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อบริเวณศีรษะ และเชื้อลุกลามถึงสมอง จะมีอาการหดเกร็งเฉพาะส่วนศีรษะ แต่มีความรุนแรงมาก
การดูแลผู้ป่วยโรคบาดทะยัก
- ใช้ยาฆ่าเชื้อบาดทะยัก ซึ่งมีอยู่ 2 ตัว คือ อิมมูน กลอบูบิน เป็นยาที่ฆ่าเชื้อบาดทะยักโดยตรง อีกตัวคือวัคซีน จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักเช่นกัน
- การรักษาอาการกระตุก ชัก จำเป็นต้องฉีดยาเพื่อหยุดอาการชัก
- การรักษาบาดทะยัก แบบประคับประคอง โดยให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลในห้อง ICU ที่ไม่มีแสงสว่างและเสียงดังมากเกินไป เพราะจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการชักได้ง่าย ถ้าวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์
หมายเหตุ: ยังไม่มีวิธีรักษาบาดทะยักโดยตรง มีเพียงการรักษาบาดแผลและการใช้ยาบรรเทาอาการ เท่านั้น
วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงเชื้อบาดทะยัก
- เมื่อมีแผลต้องทำความสะอาดแผลทันที โดยการฟอกสบู่ ล้างน้ำสะอาด เช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หรือ ทิงเจอร์ใส่แผลสด พร้อมทั้งให้ยารักษาการติดเชื้อ
- ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลวันละครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล
- ในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน เมื่อมีแผลต้องรีบปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
- ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือถูกของมีคมบาดเป็นแผลฉกรรจ์ ผู้ที่ทำงานคลุกคลีกับสิ่งสกปรกอยู่เสมอ ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไว้ล่วงหน้า
- สตรีที่ตั้งครรภ์ และบุตรที่คลอด ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามกำหนด
- โรคบาดทะยักสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่วัยทารก
การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามกำหนด เพราะเด็กๆ จะติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย ซึ่งเชื้อบาดทะยักมีอยู่ทั่วไป ทั้งในดิน และสิ่งรอบตัว โดยพิษของเชื้อบาดทะยัก อาจทำให้เด็กๆ เสียชีวิตได้
กำหนดฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
- เด็กต้องฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 5 ครั้ง คือเมื่ออายุครบ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 1ปีครึ่ง และครั้งสุดท้ายเมื่ออายุครบ 4-5 ปี
- หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว เด็กอาจมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย เช่น อาจมีอาการปวด บวม แดง หรือร้อนบริเวณที่ฉีดได้ และอาจมีไข้ หากเด็กปวดบวมบริเวณที่ฉีด ให้ประคบด้วยผ้าเย็น หากมีไข้ให้กินยาลดไข้พาราเซตามอลในปริมาณที่เหมาะสม หากมีอาการข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- เมื่อฉีดครบแล้ว ควรฉีดกระตุ้นอีกทุก 10 ปี เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันโรคอย่างต่อเนื่อง
- สตรีมีครรภ์ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันบาดทะยัก
- ผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีประวัติการฉีดวัคซีนมาก่อน ควรเริ่มต้นฉีดวัคซีน 3 ครั้ง ตามกำหนดการฉีดวัคซีน หลังจากนั้น ให้ฉีดกระตุ้นอีกทุกๆ 10 ปี
รู้หรือไม่?
- เด็กที่เกิดไหม่ ถ้าติดเชื้อบาดทะยักแล้ว จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก
- แผลสดที่มีความลึก จะทำให้เชื้อบาดทะยักเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
การเลือกใช้น้ำยาล้างแผลอย่างถูกต้อง