แคลเซียม
แคลเซียม จำเป็นต่อกระดูก ร่างกายจำเป็นต้องมีแคลเซียมที่เพียงพออยู่ตลอดเวลา เพราะแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อฟัน กระดูก เส้นผมและผิวหนัง
การรับประทานแคลเซียมที่ถูกต้องนั้น ต้องมีการรับประทานควบคู่กับวิตามินดี เพื่อการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและกระดูกได้ดี
และเพื่อป้องกันการเกิดหินปูนบริเวณเต้านม และหลอดเลือด นอกจากวิตามินดีแล้ว การออกกำลังกาย ตากแดดยามเช้า ก็ช่วยการดูดซึมแคลเซียมได้ดีเช่นกัน
คนที่ต้องการแคลเซียมเสริม
- คนที่เป็นตะคริวบ่อยๆ
- สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
- ผู้หญิงวัยทอง
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- เด็ก 2-9 ขวบ ควรได้รับแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
- หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร 1200 มิลลิกรัมต่อวัน
- คนที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรทานแคลเซียม 800 มิลลิกรัม หรือเทียบกับการดื่มนม 3-4 แก้วต่อวัน
- คนช่วงวัยทองหรืออายุ 50 ปี ควรทานแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม หรือเทียบกับการดื่มนม 4-5 แก้วต่อวัน
- หญิงที่ตั้งครรภ์และคนช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรทานแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัม หรือเทียบกับการดื่มนม 6-7 แก้วต่อวัน
รู้หรือไม่?
- อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ชีส ปลาเล็ก ถั่ว ผักใบเขียว ใบยอ หอยนางรม เป็นต้น
- วิตามินดีและแคลเซียมมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมกระดูกให้แข็งแรง และ วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
- แคลเซียมจำเป็นมากสำหรับผู้หญิงวัยทอง เพราะ โรคกระดูกพรุน มักจะเกิดขึ้นในวัยนี้
- ควรสะสมแคลเซียมไว้ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น
- ไม่แนะนำให้ซื้อยาเม็ดแคลเซียมมากินเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าเราขาดแคลเซียมมากน้อยแค่ใหน
- สารที่ไปสกัดการดูดซึมแคลเซียม คือ การกินเนื้อสัตว์มากเกินไป กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการกินผักมากเกินไป
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีความจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมมากกว่าคนปกติ เพราะทารกในครรภ์ต้องการแคลเซียมจากแม่ ไปใช้เสริมสร้างกระดูกและฟัน ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจทำให้เด็กที่เกิดมามีความเจริญเติบโตไม่เท่าเทียมเด็กทั่วไป ส่วนคุณแม่อาจมีความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยทอง
- การรับประทานยาเม็ดเสริมแคลเซียมของคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรอยู่ภายใต้การวินิจฉัย แนะนำโดยสูติแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าทารกในครรภ์ จะมีแคลเซียมใช้อย่างเพียงพอ โดยไม่กระทบกระเทือนต่อคุณแม่