โรคเหงือกอักเสบ
โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปาก ซึ่งเราทำความสะอาดออกไม่หมด ทำให้เกิดการสะสมที่บริเวณขอบเหงือกหรือในซอกฟัน
เหงือกที่ปกติจะต้องเป็นสีชมพู ขอบบางและแนบติดกับฟัน แต่คนที่เหยือกอักเสบนั้น ขอบเหงือกจะมีสีแดงจัด เป็นมันวาว บวม บริเวณคอฟันมีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน
ฟันของเราจะมีร่องระหว่างเหงือกกับฟัน ลึกประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ถ้าไม่ทำความสะอาดร่องนี้ก็อาจจะมีแผ่นคลาบจุลินทรีย์หรือพลัคมาเกาะ ทำให้เกิดเหงือกอักเสบขึ้นได้
และถ้ายังปล่อยทิ้งไว้ หินปูนจากน้ำลายก็จะมาเกาะเพิ่ม ทำให้คลาบนี้แข็งขึ้น แถมยังกินลึกลงไปยังรากฟัน และทำลายกระดูกรอบฟัน และทำลายเคลือบฟันที่ปกคลุม ทำให้เสียวฟันได้ง่ายและกลายเป็นโรคเหงือกในที่สุด
ถ้าไม่รีบรักษา กระดูกรอบฟันจะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนยึดฟันไม่อยู่ ซึ่งทำให้เกิดการปวด ระบม เหงือกบวม เป็นหนอง มีกลิ่นปากรุ่นแรง และฟันโยกคลอนจนอาจหลุดได้
ซึ่งถ้าถึงขั้นนี้เรียกว่า โรคปริทันต์อักเสบ (รำมะนาด) ทั้งหมดเกิดจากการลุกลามมาจากอาการเหงือกอักเสบ กลายมาเป็นโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ(รำมะนาด) ในที่สุด
การรักษา
หากเราทำความสะอาดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนเป็นประจำทุกวัน โรคเหงือกอักเสบก็จะบรรเทาอาการลง และเหงือกก็จะกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง
คราบจุลินทรีย์เหนือร่องเหงือก เราสามารถทำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง แต่คราบหินปูนและจุลินทรีย์ที่อยู่ใต้ร่องเหงือก ต้องทำความสะอาดโดยทันตแพทย์
วิธีป้องกันโรคเหงือกอักเสบ
- แปรงฟันอย่างถูกวิธี และแปรงวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนเข้านอน
- การใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้คราบแบคทีเรียที่อยู่ตามซอกฟันนั้นหลุดไป
- ขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะนอกจากจะทำร้ายเหงือกแล้ว ยังทำลายปอด รวมถึงเป็นสารก่อมะเร็งด้วย
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพเหงือกให้แข็งแรง
รู้หรือไม่?
- อาการของเหงือกอักเสบ เริ่มมาจากหินปูนเป็นหลัก
- อาการเหงือกอักเสบมักเกิดขึ้นทั่วทั้งปาก
- การเคี้ยวอาหารจะช่วยขัดฟันไปในตัว