อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน สำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมเบาหวาน เพราะน้ำตาลที่อยู่ในเลือด มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้นเอง
เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนหรือย่อยสลายอาหารนั้น จนกลายเป็นน้ำตาลขนาดเล็กที่เรียกว่า น้ำตาลกลูโคส แล้วน้ำตาลกรลูโคสจะซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ
ขณะเดียวกัน ร่างกายจะสั่งการให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยการลำเลียงน้ำตาลผ่านเข้าผนังเซลล์ และเนื้อเยื่อในร่างกาย เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป
หลังทานอาหาร เมื่อเกิดกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหารเสร็จสิ้นลง ระดับน้ำตาลในเลือดจะเริ่มลดลง นั้นคือเวลาที่ฮอร์โมนอินซูลินและกลูคาร์ก้อน จะทำหน้าที่อีกครั้ง ในการนำน้ำตาลที่เก็บไว้ในเซลล์กล้ามเนื้อและไขมัน กลับเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมอีกครั้ง
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
มีหลักการเดียวกันกับอาหารเพื่อสุขภาพ แต่มีอาหารบางประเภทที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เน้นการบริโภคให้ได้สัดส่วน ปริมาณ และความหลากหลายของอาหารที่เหมาะสม
ในรูปสามเหลี่ยมด้านบน จะแบ่งอาหารออกเป็นกลุ่มต่างๆ และให้รายละเอียดปริมาณที่ควรบริโภค เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่พอดีกับความต้องการ ซึ่งหากรับประทานอาหารกลุ่มต่างๆได้ตามแนวทางที่กำหนด จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานรวมประมาณ 1600 ถึง 2400 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
ปริมาณพลังงานที่คนเราต้องการ จะแตกต่างกันไปตามเพศ อายุ ขนาดร่างกาย และรูปแบบการใช้ชีวิต ว่ามีการใช้พลังงานมากน้อยเพียงได
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มักมีปัญหาน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนอยู่แล้ว จึงแนะนำให้เลือกปริมาณการรับประทานอาหารในแต่ละกลุ่ม ที่ตัวเลขต่ำสุด เพื่อให้ได้พลังงานเฉลี่ยประมาณ 1600 กิโลแคลอรี่ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับตัวคุณได้อีกครั้ง
ปริมาณอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
1. อาหารกลุ่มแป้ง
คือ อาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกายโดยตรง แต่ควรระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้ารับประทานมากเกินที่ร่างกายต้องการ จะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึงมีอยู่ 2 ประเภทคือ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นอาหารหลัก เพื่อให้ได้พลังงานที่มีคุณค่า
2. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีโครงสร้างซับซ้อนกว่า จึงสลายตัวเป็นกลูโคสได้อย่างช้าๆ ระดับน้ำตาลจึงค่อยๆ เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทำให้เซลล์ค่อยๆ ดึงน้ำตาลไปใช้ ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสมดุล
อาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท เป็นต้น
3. คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว
ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน สลายตัวง่าย ซี่งจะถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายรวดเร็ว หากทานเข้าไปมาก น้ำตาลก็จะล้นทะลักเข้าเส้นเลือด จึงไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
ควรเลี่ยงอาหารในกลุ่มน้ำตาลชนิดต่างๆ น้ำผึ้ง แลคโตส หรือน้ำตาลในนม และน้ำตาลในผลไม้เป็นต้น
4. อาหารกลุ่มผัก
ผักมีใยอาหารสูง ช่วยให้กระบวนการย่อย และการดูดซึมเกิดขึ้นช้า ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
5. อาหารกลุ่มผลไม้
เป็นแหล่งคาโบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป เพราะทำให้การควบคุมสมดุลของเลือดเป็นไปได้ยาก สำหรับน้ำผลไม้มีเส้นใยอาหารน้อย ผู้เป็นเบาหวานจึงควรทานผลไม้สดจะดีกว่า
6. กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม
เป็นแหล่งโปรตีน แร่ธาตุ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน
7. กลุ่มเนื้อสัตว์
ให้ทั้งโปรตีนและไขมันต่อร่างกาย โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเป็นแหล่งพลังงานด้วย
แต่ในเนื้อสัตว์มักมีไขมัน และคอเลสเตอรอลแฝงอยู่ หากทานปริมาณมาก อาจมีความเสี่ยงจากการเกิดโรคไขมันในเลือดสูงได้ ควรเลือกโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โปรตีนจากไข่ โปรตีนจากเนื้อปลาและพืช เป็นหลัก
8. กลุ่มไขมัน
เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อช่วยในการดูดซึมวิตามินต่างๆ แต่การได้รับไขมันเกินความต้องการ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เราจึงควรระมัดระวัง
9. เกลือหรือโซเดียม
เป็นนความสัมพันธ์โดยตรงกับการเป็นความดันโลหิตสูง ทำให้ไตต้องทำงานหนักซึ่งผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงที่ไตจะเสื่อมมากกว่าคนปกติทั่วไปอยู่แล้ว จึงควรทานแต่น้อยเท่านั้น
อาหารในกลุ่มเดียวกัน จะใช้สารอาหารหลักใกล้เคียงกัน ถ้าเรารู้จักกินทดแทนหรือสลับเปลี่ยนกันบ้าง จะทำให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
ผู้เป็นเบาหวานอาจยึดหลัก ใช้เท่าใหร่กินเท่านั้น โดยดูแลการรับประทานอาหารให้สม่ำเสมอครบมื้อ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดในแต่ละวัน เป็นไปอย่างเหมาะสม
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวาน