นอนกรน
วิธีแก้อาการนอนกรน ที่เกิดจากทางเดินหายใจตีบแคบ ในขณะที่คนเรานอนหลับสนิท กล้ามเนื้อต่างๆ ในช่องปาก จะหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลมหายใจไม่สามารถใหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้ และเนื่องจากช่องลมถูกปิดกลั้นจนเล็กลง จึงทำให้เกิดเป็นเสียงกรน
การนอนกรนมี 2 ประเภท
- การนอนกรนธรรมดา ไม่เป็นอันตราย แต่จะสร้างเสียงระบบกวนให้แก่ผู้ร่วมห้อง
- การนอนกรนชนิดอันตราย เป็นการนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หายใจแผ่วหรือหายใจเข้าออกอย่างรุนแรง กรนๆ หยุดๆ หรือมีอาการสะดุ้ง
สาเหตุ
- ความอ้วน
- โรคภูมิแพ้ที่จมูก
- สันจมูกเบี้ยวหรือคด
- ต่อมทอนซิลโต ขวางทางเดินหายใจ
- รูปหน้าหรือคางผิดปกติ
- การดื่มเหล้า สูบบุหรี่
- การกินยาที่มีผลทำให้ง่วงนอน เช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาพวกนี้ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนลง คนที่นอนกรนแล้วกินยานอนหลับ อาจหยุดหายใจไปเลยได้
- ไขมันสะสมบริเวณกล้ามเนื้อช่องคอ
วิธีแก้อาการนอนกรน
- นอนหลับบนฟูกที่แข็ง และหมอนรองศรีษะต่ำ เพื่อให้ลำคอตรงและลดอาการอุดขวางทางเดินอากาศในช่องลม
- หากคุณนอนกรนเฉพาะตอนที่นอนหงายเท่านั้น ให้ลองนอนท่าอื่น การนอนตะแคงข้างแล้วใช้ผ้าห่มม้วนวางไว้ข้างตัวทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ้งตัวกลับไปนอนหงายได้อีก
- งดสูบบุหรี่ เพราะไปเพิ่มการผลิตเยื่อเมือกในจมูกและคอมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ เพราะเป็นตัวกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หลับลึกกว่าปกติ
- ลดน้ำหนักตัวลง เนื้อเยื่อที่เพิ่มขึ้นที่คอ และหลอดคอในคนอ้วน พร้อมกับการที่มีกล้ามเนื้อที่ไม่ดี จะไปทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนเล็กลง แคบลง และแรงกดที่กระทำต่อกระบังลม เมื่อนอนหงายยิ่งเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ามีอาการกรนมากๆ จำเป็นนต้องไปพบแพทย์ การกรนอาจจะดูไม่รุนแรง ไม่อันตราย แต่ความจริงแล้ว ถ้ากรนมากๆ ก็สามารถทำให้หยุดหายใจ และเสียชีวิตได้
การรักษาผู้ป่วยนอนกรนชนิดอันตราย
- ใช้เครื่องดันอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจโดยตรง หรือที่เรียกว่า CPAP
- เครื่องมือในช่องปาก คือ เครื่องมือที่สามารถเคลื่อนตำแหน่งขากรรไกรให้ออกมาทางดานหน้า หรือเครื่องมือที่สามารถพยุงลิ้นให้ทางเดินหายใจนั้นเปิดกว้างมากขึ้น จะช่วยลดการหยุดหายใจได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
- ใช้อุปกรณ์ดึงลิ้นขณะนอน ทำให้ช่องหายใจกว้างขึ้น
- จี้หรือตัดลิ้นไก่ออก ใช้รักษาเฉพาะอาการนอนกรม แต่ไม่รักษาอาการหยุดหายใจ
- การผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชียวชาญ เช่น ตัดเพดานในช่องปาก หรือตัดกล้ามเนื้อโคนลิ้น ผ่าตัดเลื่อนกราม เป็นต้น
การนอนกรนทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของสมองไม่เพียงพอ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมรรถภาพทางเพศลดลง
รู้ได้อย่างไรว่าตัวเองนอนกรน?
- ปวดปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
- ปวดหัว มึนหัวในตอนเช้า
- ง่วงนอนตอนกลางวัน มีอาการเพลียทั้งที่นอนอย่างเพียงพอแล้ว