วิธีรักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน
ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน แบ่งออกเป็นหลายสาเหตุด้วยกันตามลักษณะของผมที่ร่วง วิธีรักษาผมร่วง และวิธีป้องกัน มีหลายวิธีดังนี้
ผมร่วงแค่ใหนถึงเรียกว่าผิดปกติ
- ผมร่วงเยอะขึ้นกว่าปกติที่เคยร่วง หรือร่วงเกิน 100 เส้นต่อวัน
- ผมบางเป็นจุดๆ หรือมีภาวะผมร่วงร่วมกับอาการอื่น เช่น คันหนังศีรษะ เจ็บหนังศีรษะ ควรรีบพบแพทย์
- ถ้าใช้มือรูดเส้นผมประมาณ 50 เส้น แล้วมีผมร่วงติดมือออกมา 5-6 เส้น ถือว่าผิดปกติ โดยทั่วไปอาจร่วงติดมือมาแค่ 1-2 เส้น
สาเหตุและลักษณะของผมร่วงที่พบบ่อย
- ผมร่วงตามพันธุกรรม ในผู้ชายผมจะร่วงจากบริเวณขมับขึ้นไปและบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิงบริเวณรอยแสกผมจะกว้างขึ้น ไรผมจะเริ่มลึกขึ้นโดยเฉพาะขมับทั้งสองข้าง
- เส้นผมหยุดการเจริญเติบโตจากการเจ็บป่วย 3-6 เดือนที่ผ่านมา เช่น การคลอดบุตร การเข้ารับการผ่าตัด หรือการเสียเลือดในปริมาณมาก จะทำให้เกิดผมร่วงเป็นจำนวนมากได้ ซึ่งผมจะร่วงเท่ากันทั่วหนังศีรษะ
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายสูญเสียสารอาหารบางอย่าง เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ผมหลุดร่วงง่ายหรืองอกช้ากว่าเดิม
- การเจ็บป่วยเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคไต โรคตับ เบาหวาน อาจจทำให้ผมบางลงได้ ผมงอกช้าหรือร่วงมากขึ้น
- ฮอร์โมนเพศชายที่มากเกินไป สังเกตุผมจากเส้นใหญ่แข็งแรง จะค่อยๆกลายเป็นขนอ่อนลีบเล็กลง ถ้าเป็นนานๆ ต่อมขนจะฝ่อในที่สุด ศีรษะจะเถิกขึ้นทีละน้อย โดยเฉพาะบริเวณขมับทั้งสองด้าน และบริเวณกระหม่อมจะค่อยบางลง
- ผมร่วงแบบเป็นหย่อมๆ กลมๆ เกิดจากโรคของภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานมากเกินไปจนไปทำลายรากผมเป็นจุดๆ
- เป็นซีสต์ในรังไข่
- กินยาบางตัว เช่น ยารักษาสิว ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดความดันบางตัว
วิธีรักษาผมร่วง
- การผ่าตัดปลูกย้ายเซลล์เส้นผม เหมาะสำหรับผมร่วงตามพันธุกรรม เพราะการรักษาจะยากกว่าสาเหตุอื่น เมื่อได้รับการปลูกผมแล้ว ผมจะร่วงก่อนในช่วงแรกและจะกลับมายาวอีกครั้งภายใน 4 เดือน ซึ่งผมที่ปลูกจะสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิต
- กินยาฟิเนสเทอไรด์ (Finasteride) เพื่อยับยังฮอร์โมนเพศชายไม่ให้เกาะที่รากผม ทำให้ผมไม่ร่วง และช่วยได้ในผู้หญิงบางรายที่มีภาวะวัยทอง แต่อาจมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศชายในด้านต่างๆ ของร่างกายได้
- ทายาไมนอกซิดิลโลชั่น (Minoxidil Lotiion) ทำให้เส้นผมกลับมามีสุขภาพแข็งแรง มีผลข้างเคียงน้อย อาจมีอาการระคายเคืองหรือเป็นรังแค ถ้ายาหยดลงบนหน้าอาจทำให้มีขนขึ้นที่หน้าได้ ยานี้ไม่สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร
- ใช้ยาคุมบางชนิดกับผู้หญิงบางรายที่มีปัญหาผมร่วงในวัยเจริญพันธุ์เพื่อปรับฮอร์โมน
- ฉีดพลาสม่ากระตุ้นรากผม พลาสม่าคือเลือดของคนไข้เอง นำไปสกัดและฉีดกลับเข้าไปที่รากผม เป็นตัวเสริมวิธีรักษาอื่นๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูรากผมขึ้นมาใหม่ เหมาะสำหรับทุกคนที่มีปัญหาผมร่วง ยกเว้นผู้ที่หนังศีรษะติดเชื้ออักเสบหรือมีโรคเลือด โดยทั่วไปจะทำ 1 ครั้งต่อเดือน และจะค่อยๆ เห็นผลประมาณเดือนที่ 6
วิธีดูแลสุขภาพผม
- เสริมอาหารที่จำเป็นสำหรับผม เช่น เกลือแร่ในอาหารทะเล วิตามินบีจากมันฝรั่ง ถั่ว เนื้อ ตับ และควรทานไขมันธรราชาติให้เพียงพอ เช่น ไข่แดง น้ำมันตับปลา
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับเส้นผม เช่น การฟอกสีผม ดัดผม ยืดผม
- ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการดูดบุหรี่ เนื่องจากทำให้แก่ก่อนวัย การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงรากผมน้อย รากผมจึงอ่อนแอ
- หลีกเลี่ยงการสระผมบ่อยๆ อย่างมากวันเว้นวันก็เพียงพอ ถ้าให้ดี อาทิตย์ละ 3 ครั้ง
รู้หรือไม่?
- หากพบว่ามีภาวะผมร่วงให้รีบรักษา ไม่ควรปล่อยไว้จนผมบางหรือศีรษะล้าน เพราะจะทำให้การรักษายิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ
- การไดร์ผมจะทำให้หนังศีรษะแห้ง ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงตามมาได้ แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ผมร่วง
- ผมมัน สามารถทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อยิสต์ ซึ่งอาจนำไปสู่อาการผมร่วงได้
- ภาวะผมร่วง ผมบาง จากพันธุกรรมเพศชาย จะเริ่มในวัย 20 ปีขึ้นไป
- ใช้น้ำมันบำรุงต่างๆ ทาบนหนังศรีษะจะได้ซึมลงไปในรากผม เพราะเส้นผมที่ยื่นออกมาเป็นอวัยวะที่ตายแล้ว
- การทอผม คือการเอาเส้นผมเทียมมาติดด้วยกาวยึดกับเส้นผมที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน จะทำให้ผมดูเยอะขึ้น