วิธีควบคุมน้ำหนัก
วิธีควบคุมน้ำหนัก มีหลายวิธีด้วยกัน โดยเฉพาะการควบคุมและเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี และวิธีช่วยควบคุมไม่ไห้หิวบ่อย
ควรกินอาหารวันละกี่มื้อ
การรับประทานที่ดี ควรกระจายมื้ออาหาร และแบ่งมื้อนั้นเป็นมื้อเล็กๆ ทานทีละน้อยๆ แต่บ่อย จะดีกว่าการที่เราทานเข้าไปปริมาณมากๆ ในมื้อเดียว
เพราะถ้าเรารับประทานจนกระทั่งกระเพาะขยาย ร่างกายก็จะเคยชินกับการรับประทานอาหารในปริมาณมากๆ ทำให้อ้วนลงพุงได้
การทานทีละน้อยๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่แกว่ง ถ้ามีระดับน้ำตาลในเลือดที่คงทีทั้งวันนั้น ก็จะเป็นผลดีกับร่างกาย แต่ถ้าทานเยอะๆ มื้อเดียว อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด และท้องเฟ้อได้
การทานมากเกินไปในมื้อเดียวบ่อยๆ อาจทำให้เกิดภาวะเบาหวาน ใขมันในเลือดสูง ความดันในเลือดสูง
พลังงานจากอาหารทีใช้ไม่หมด จะถูกเปลี่ยนเป็นใขมันสะสมตามร่างกาย ใขมันอาจไปสะสมที่ตับทำให้เกิดเป็นโรคได้ เช่น ไขมันเกาะตับ หรือถ้าสะสมในช่องท้องมากๆ ก็จะทำให้มีภาวะอ้วน และในอนาคตก็มีโอกาสเป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ใขมัน ความดัน และหลอดเลือดหัวใจได้
สาเหตุที่ทำให้หิวบ่อย
สิ่งที่ทำให้เราเกิดอาการหิวบ่อยและทานเยอะ ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
เพราะเวลาที่เราทานอาหารประเภทแป้งและขนมหวานเยอะๆ จะทำให้น้ำตาลพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่อเราหยุดทาน น้ำตาลก็จะตกและทำให้เราจะรู้สึกหิวมาก และอยากทานอะไรต่อไปอีก
ดังนั้นจึงไม่ควรทานอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลก่อนมื้อหลัก
ไอเดทแบบใหนดีที่สุด
แอทกิ้น ไดเอท (Atkins Diet)
คือการควบคุมอาหารประเภทแป้ง เน้นโปรตีนสูง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะทำให้ไม่หิวบ่อย แต่จะทำให้สูญเสียน้ำออกจากร่างกายค่อนข้างมาก
เพราะฉะนั้น ในระยะสั้นน้ำหนักจะลดเร็วจริง แต่ในระยะยาวถ้าเกิดเราไม่กินแป้ง เราก็ต้องไปกินเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ซึ่่งการทานเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นในระยะยาว อาจจะทำให้เกิดโรคตามมาได้ เช่น โรคใขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจได้
ไฮ โปรตีน ไดเอท (High Protein Diet)
การทานโปรตีนในระดับที่พอเหมาะประมาณ 15-20 เปอร์เซนต์ จะทำให้เราสามารถเอาไปสร้างกล้ามเนื้อได้ แต่ถ้าเกิดทานโปรตีนมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียบางอย่างในระยะยาวได้ เช่น ทำให้ค่าไตผิดปกติได้ หรือทำให้เป็นนิ่วในไตได้
บาลานซ์ ไดเอท (Balance Diet)
เป็นวิธีที่ดีที่สุดในระยะยาว คือลดพลังงานลง แต่มีสัดส่วนอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและใขมันที่เหมาะสม ดังนี้
- ใขมันและน้ำตาล 7 %
- เนื้อสัตว์ 25 %
- แป้งและธัญพืช 33 %
- ผักและผลไม้ 35 %
วิธีคำนวณความสัมพันธุ์ของความสูงกับน้ำหนัก
น้ำหนัก(เป็นกิโลกรัม) หาญด้วย ความสูง2(เป็นเมตร) ก็จะได้ค่า BMI
ค่า BMI ที่ได้
- 15 – 18.4 = น้อยเกินไป
- 18.5 – 22.9 = ปานกลาง(ทั่วไป)
- 23 – 27.5 = มากเกิน
- 27.6 – 40 = โรคอ้วน