วัคซีนป้องกันอัลไซเมอร์
การศึกษาโดยสถาบันคาโรลินสก้า รายงานถึงผลดีของ วัคซีนป้องกันอัลไซเมอร์ เป็นครั้งแรก โดยวัคซีนตัวใหม่ ชื่อว่า CAD 106 สามารถพิสูจน์ให้เห็นความก้าวหน้า ในการค้นหาวิธีการรักษาโรคสมองเสื่อม ที่ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพลงอย่างรุนแรงนี้ได้
โรคอัลไซเมอร์
เป็นโรคทางระบบประสาทสมองที่ซับซ้อน ซึ่งทำให้สมองเสื่อม อันเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากในมนุษย์ รวมทั้งก่อให้เกิดความสูญเสียทางสังคมเป็นอย่างมาก
ตามที่องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า โรคสมองเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพของโลก ที่เกิดมากขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคนี้
สมมุติฐานในปัจจุบันระบุว่า การเกิดโรคนี้เกี่ยวข้องกับ APP ( amyloid precursor protein ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเนื้อเยื่อด้านนอกของเซลล์ประสาท และก่อให้เกิดสารอันตรายที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ ( beta – amyloid) โดยจะสะสมอยู่ในสมอง และทำลายเซลล์สมอง
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์ และยาที่ใช้อยู่ก็ทำได้แค่เพียงชะลออาการเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ ต่างก็พยายามค้นหาวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการใช้วัคซีนป้องกัน ก็เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
การทดลองวัคซีนนี้ เคยทำครั้งแรกตั้งแต่เมื่อราวสิบปีก่อนหน้านี้ แต่ผลปรากฏว่า วัคซีนก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย จึงล้มเลิกไป โดยวัคซีนที่ใช้ในการศึกษาทดลองครั้งนั้น ได้ทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ” ที เซลล์ ” และไปทำลายเนื้อเยื่อสมองของร่างกาย
การรักษาแบบใหม่ เกี่ยวข้องกับการให้ภูมิคุ้มกัน โดยใช้วัคซีนชนิดใหม่ที่ออกแบบมาให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อต่อต้าน เบต้า-อะไมลอยด์ ( beta – amyloid ) ในการทดลองในมนุษย์เป็นครั้งที่สองนี้ วัคซีนได้ถูกปรับปรุงให้มีผลต่อ เบต้า – อะไมลอยด์ ที่เป็นอันตรายเท่านั้น
นักวิจัยพบว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการทดลองนั้น ร่างกายได้สร้างแอนติบอดีต่อต้าน เบต้า-อะไมลอยด์ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงตลอดระยะเวลากว่า 3 ปีที่ทำการทดลอง
นักวิจัยเชื่อว่าวัคซีน ซีเอดี106 เป็นวิธีการรักษาที่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และจำเป็นต้องมีการทดลองที่ใหญ่ขึ้น เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของวัคซีน CAD 106 นี้
การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดยศาสตราจารย์เบงท์ วินแบลด แห่งศูนย์การวิจัยโรคอัลไซเมอร์ในฮัดดิงจ์ ประจำสถาบันคาโรลินสกา นักประสาทวิทยาผู้เป็นหัวหน้าเครือข่ายพลังสมองแห่งสวีเดน
ที่ปรึกษาคือนีลส์ แอนเดอร์สัน จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยคาโรลินสกา เมืองฮัดดิงจ์ ; ศาสตราจารย์เลนนาร์ท มินธอน จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอ็มเอเอส เมืองมาลโม ; และศาตราจารย์คัจ เบล็นนาว จากสถาบันการศึกษาซาลเกรนสกา เมืองโกเธนเบิร์ก
การศึกษาได้รับทุนวิจัยจากโนวาร์ทิส บริษัทยาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์