ยาหมดอายุ
ยาหมดอายุ อายุของยาขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุส่วนใหญ่ เกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธี เช่น โดนแดด ความชื้น ซึ่งยาเสื่อมสภาพเหล่านี้ จะไม่มีผลในการรักษา และยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
ยาหมดอายุ ยังมีประสิทธิภาพในการรักษาหรือไม่ ?
ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของยา การเก็บรักษา ลักษณะทางกายภาพของยา และสภาพการปิดผนึกของบรรจุภัณฑ์ ยาที่หมดอายุแต่ยังไม่ถูกแกะมาใช้ สามารถเก็บไว้ได้ต่อไปอีกมากกว่า 4 ปี และสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ
ประสิทธิภาพหลักทางการรักษานั้นยังคงมีอยู่ แต่อาจลดลงได้ตามกาลเวลา แต่ไม่รวมถึงยาปฏิชีวนะประเภท เตตราไซคลิน ไนโตรกลิเซอรีน อินซูลีน และยาปฏิชีวนะชนิดน้ำ ที่เสื่อมสภาพแล้ว เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อท่อไตของผู้ป่วย
หลังจากเปิดขวดยา ยาจะเริ่มเสื่อมคุณภาพ ซองยาที่ใช้เก็บยาจะสามารถเก็บยาได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาไปเก็บไว้เป็นจำนวนมาก และไม่ทานยาที่มีลักษณะผิดรูปไปจากเดิม เพราะอาจเป็นยาที่เสื่อมคุณภาพ ยาที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพต้องทึ้งทั้นที
ยาน้ำหมดอายุ ใช้ได้หรือไม่ ?
ยาน้ำเชื่อม และยาน้ำแขวนตะกอน โดยทั่วไปแล้วมีความเสถียรไม่เหมือนกันกับตัวยาชนิดเม็ด และไม่ควรใช้ยาน้ำที่ขุ่นข้น หรือสีซีดจางผิดปกติ
ยาน้ำประเภท Ophthalmic เช่น Xaltan เก็บไว้นาน ๆ ไม่ค่อยได้ เพราะยามักจะเสียจากการบูดเน่า มากกว่าการเสื่อมความเสถียรของตัวยาเอง ส่วนยา เอปิเพน จะเสื่อมประสิทธิภาพลง หากพ้นวันที่หมดอายุมาแล้ว
วิธีสังเกตุ ยาหมดอายุ
- ถ้าในฉลากไม่ระบุวันหมดอายุ ให้ดูวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งโดยทั่วไปยาน้ำที่ยังไม่เปิดใช้จะมีอายุ 3 ปี
- ยาเม็ดที่ยังไม่เปิดใช้มีอายุไม่เกิน 5 ปี
- ยาชนิดอื่นที่ยังไม่เปิดใช้มีอายุ 3 ปี นับจากวันที่ผลิต และลักษณะของยาที่เปลี่ยนไปจากเดิม รูปร่าง สีและกลิ่น
- ยาผงและแกรนูล ก่อนใช้สังเกตุได้จากการจับตัวกันเป็นก้อนแข็งหรือเยิ้มเหลว
- ยาเม็ดฟู่ และยาผงฟู่ มีความแข็งมากขึ้นและไม่เกิดการฟู่เมื่อผสมน้ำ
- ยาเหน็บทวาร มีลักษณะอ่อนนุ่มเกินไป โค้งงอ มีคราบน้ำมันที่กล่อง
- ยาน้ำเชื่อม ยาสารละยาย และยาอิลิกเซอร์ มีสีขุ่น การตกตะกรอนของยาที่ละลายได้น้อย การตกผลึกของน้ำตาล มีสี กลิ่นและรสเปลี่ยนไป
- ยาที่เป็นเนื้อครีม แห้งไม่เหนียวเหมือนเดิม ยาบางชนิดมีสีที่คล้ำลง
- ยาเม็ด มีรอยร้าวหรือบิ่น แตกหักง่าย เม็ดยาบวมมีรอยด่าง เม็ดยาเกาะติดกัน มีสีที่เข็มขึ้นหรือจางลงไปจากเดิม
วิธีเก็บรักษายา
- เก็บให้พ้นแสดงแดดและความอับชื้น เพราะยาจะหมดอายุก่อนเวลาที่ระบุ
- ยาที่เก็บต้องมีฉลากยาระบุชัดเจน
- ปิดฝาหรือผนึกยาให้สนิท
- ควรเก็บยาไว้ในที่เย็น เช่น เก็บยาไว้ในตู้เย็น จะช่วยยืดอายุของตัวยาไปได้อีกหลายปี
ความรู้เพิ่มเติมเกี่่ยวกับยาหมดอายุ
- ยาบางตัว เช่น captopril ชนิดเม็ด, ยาฉีด cefoxitin sodium และ theophylline ชนิดเม็ด สามารถเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิหรือความชื้นสูง ได้นานถึง 25 ปี โดยที่ไม่กระทบต่อประสิทธิภาพทางการรักษาเลย
- การศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งกล่าวว่า ร้อยละ 90 ของยาประเภท theophylline สามารถคงสภาพทางตัวยาไว้ได้แม้จะเก็บไว้ต่อไปอีก 30 ปี หลังเลยวันที่หมดอายุแล้ว
ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่น คุณสามารถใช้ยาที่หมดอายุแล้ว เพื่อเบาเทาอาการเจ็บป่วยได้ เพราะยังไม่มีรายงานจากหน่วยงานใด ถึงความเป็นพิษของยาที่หมดอายุ หรือยาที่เสื่อมสภาพแล้ว
อีกทั้งเราก็ได้ทราบจากข้างต้นแล้วว่า ยาที่ยังไม่ถูกแกะใช้ และเก็บรักษาในสภาวะที่เหมาะสมนั้น สามารถเก็บไว้ได้ต่อไปอีกประมาณ 5 ปี หรือนานกว่านั้น โดยที่ตัวยาเองก็ยังคงมีประสิทธิภาพทางการรักษาสูงถึงร้อยละ 90
แต่ในกรณีของยา เอปิเพน ยาปฏิชีวนะประเภท เตตราไซคลิน ไนโตรกลิเซอรีน อินซูลีน และยาปฏิชีวนะชนิดน้ำ ผู้ใช้ควรใช้ยาก่อนวันที่หมดอายุเท่านั้น