มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ซึ่งปากมดลูกจะอยู่ลึกเข้าไปจากปากช่องคลอด แต่ยังไม่ถึงบริเวณมดลูก ถ้าเกิดการติดเชื้อไวรัส HPV ขึ้นมา แล้วปล่อยทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นมะเร็งลุกลามบริเวณนี้ได้
เชื้อไวรัส HPV คืออะไร?
เชื้อไวรัส HPV เป็นไวรัสที่ชื่อว่า Human Papilloma Virus หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า หูดหงอนไก่ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกถึง 99 เปอร์เซ็นต์
ไวรัส HPV จะใช้ระยะเวลาในการพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งประมาณ 1-5 ปี นับจากวันที่ติดเชื้อ เพราะฉะนั้นทุกๆ ปี จึงควรไปตรวจมะเร็งปากมดลูก
อาการ
ในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการไดๆ เลย แต่ในระยะที่เป็นหนักแล้วจะแสดงอาการดังนี้
- มีตกขาวปริมาณมาก
- เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอย เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีตกขาวปนเลือด
- ถ้าอาการหนักมาก จะแสดงอาการปวดหลัง ขาบวม ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเลือด
การรักษา
ในระยะเริ่มแรก หรือ ภาวะก่อนเป็นมะเร็ง สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการใช้เครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายห่วง ปาดส่วนที่เป็นมะเร็งทิ้งไป ก็จะหายได้ 100 เปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าเป็นระยะลุกลามเริ่มต้น ก็อาจจำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้ง เพราะมะเร็งจะลามขึ้นไปตามท่อน้ำเหลือง ซึ่งหากปล่อยไว้ ก็จะลามไปทั่วร่างกายได้
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- แนะนำให้ตรวจตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว
- อายุ 21-30 ปี แนะนำให้ตรวจเซลล์อย่างเดียว ปีละ 1 ครั้ง
- อายุ 30 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจทั้ง 2 วิธี โดยตรวจทั้งเซลล์ และเชื้อไวรัส ถ้าผลปกติแนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปี หรืออาจตรวจเซลล์อย่างเดียว แต่ต้องตรวจทุกปีไปจนถึงอายุ 65 ปี หลังอายุ 65 ปี สามารถหยุดตรวจได้ในกรณีที่ผลตรวจก่อนหน้านั้นปกติ
ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะจะมีช่วงเวลาในการมีเพศสัมพันธุ์มากกว่าคนอื่น
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธุ์บ่อย จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้มาก
- ผู้หญิงที่เปลี่ยนสามีบ่อยๆ
- เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิซ หนองใน
การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
การฉีดวัคซีน จะครอบคลุมสาเหตุการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ จะได้ผลดีที่สุดในคนที่อายุน้อย หรือคนที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ และยังไม่เคยมีการติดเชื้อ
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในช่วงอายุ 9-15 ปี หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรืออายุมากแล้ว การฉีดวัคซีนก็ยังสามารถป้องกันได้อยู่ แต่ประสิทธิภาพอาจลดลงบ้าง แต่อย่างไรก็ดีกว่าไม่ได้ฉีดป้องกันเลย
ฉีดวัคซีนกี่ครั้ง?
ฉีดวัคซีนเข็มแรก นับไป 1-2 เดือน
ฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และนับไปอีก 6 เดือน
ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้นานเกือบ 5-6 ปี