ปวดท้องประจำเดือน
ปวดท้องประจำเดือน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน โดยเฉพาะในสตรีวัยเจริญพันธ์ ซึ่งจะมีอาการปวดตั้งแต่ครั้งแรกที่มีประจำเดือน และจะปวดอยู่ประมาณ 2-3 ปี
หลังจากนั้นอาการปวดประจำเดือนก็จะเริ่มดีขึ้น และหายไปได้ หรืออาจจะปวดบ้างเล็กน้อยซึ่งเป็นเรื่องปกติไม่จำเป็นต้องทานยา
อาการปวดท้องผิดปกติ
- หลังจากเป็นประจำเดือนผ่านมาแล้ว 1-3 ปี แต่ยังมีอาการปวดอยู่ หรือจากที่ไม่เคยปวดเลยแล้วเริ่มมีอาการปวดทีหลัง ปวดมากขึ้น ทานยามากขึ้น บางทีต้องเปลี่ยนยา จากทานยาเป็นฉีดยาทุกเดือน ซึ่งเป็นอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติ
- อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เป็น โรคช็อกโกแลตซีส หรือที่เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ ความเครียด ความวิตกกังวล การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
ปวดท้องประจำเดือนควรทำอย่างไร?
- ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณท้องส่วนล่าง (ท้องน้อย) เป็นเวลา 20 นาที หรือนานกว่านั้น
- อาบน้ำอุ่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม โซดา เพราะจำทำให้ท้องอืด และทำใหเกิดอาการปวดท้องได้
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่มีโซเดียมสูง และเลือกทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ในช่วงที่มีประจำเดือน
- ออกกำลังกาย จะช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้สารคัดหลั่งที่หลั่งออกมากระตุ้นความเจ็บปวดหายไปจากร่างกายได้เร็ว และช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ยาแก้ปวดท้องประจำเดือน
- ถ้าปวดไม่มาก สามารถใช้ยาพาราเซตามอล หรือ ยาแอสไพริน เพื่อลดอาการปวดได้
- ถ้าปวดมาก จะใช้ยาไอบูโพรเฟน ยาโดซาแนค ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาเมเฟนามิค แอซิด (mefenamic acid) ยาเมโทพิน (atropine) และยายาไฮออสซีน (hyoscine)
สมุนไพรแก้ปวดท้องประจำเดือน
- ชาตะไคร้ โดยทุกตะไคร้ 2 ต้น ต้มกับน้ำเปล่า 1 ลิตร ใส่เกลือป่นเล็กน้อย ต้มจนเดือด ใช้ดื่มขณะปวดประจำเดือนครั้งละ 1 แก้ว 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น
- ชาใบข่อย ใช้ใบข่อยตากแห้ง 1 หยิบมือ คั่วให้หอม แล้วนำไปชงกับน้ำร้อน ดื่มแทนน้ำเปล่า จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
- น้ำคื่นฉ่าย จะใช้คื่นฉ่าย 1 กำมือ และรากบัวสด ต้มกับน้ำเปล่า 1 ลิตร จนเดือด ใช้ดื่มแทนน้ำเปล่าระหว่างช่วงมีประจำเดือน จะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอากการดังต่อไปนี้
- มีตกขาวเพิ่มมากขึ้น และมีกลิ่น
- มีไข้ และมีอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน
- ปวดฉับพลัน หรือรุนแรง โดยเฉพาะถ้าประจำเดือนมาช้าเกินกว่ากำหนด 1 สัปดาห์ และคุณได้มีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนั้
- มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องทานยา หรือมีปริมาณประจำเดือนมากขึ้นกว่าปกติ