คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไต
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไต ดูทุกคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับโรคไต เช่น ฟอกไตต้องทำบ่อยแค่ใหน กลั้นปัสวะนานๆมีโอกาสเป็นโรคไตได้ใหม?
ใครสามารถบริจาคไตได้บ้าง?
- เป็นญาติพี่น้องสายตรง คือ พ่อ แม่ หรือพี่น้องท้องเดียวกันกับเรา หรือพี่น้องที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
- ใน กรณีที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ปัจจุบันกฎหมายในประเทศไทยของสภา กาชาดไทยอนุญาติ คือ สามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้วอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องมีบุตรด้วยกัน และพิสูจน์ได้ว่าบุตรนั้นเกิดจากทั้งคู่ ถึงจะเป็นผู้บริจาคไตได้ตามกฎหมาย
- จากผู้บริจาคที่แกนสมองตายแล้ว แต่หัวใจยังเต้นอยู่ หรือ สมองตายถ้าคนไข้ไม่ได้แสดงความจำนงไว้ก่อนเสียชีวิต ญาติจะเป็นผู้แสดงความจำนงให้
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยว่า ผู้ให้กับผู้รับมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้ใหม โดยการเจาะเลือดของผู้รอรับไตมาผสมกับเซลล์ของผู้บริจาคไต เพื่อดูปฏิกริยาการต่อต้านหรือเข้ากันได้หรือไม่
เพราะถ้ามีปฏกริยาต่อต้านรุ่นแรงแสดงว่าเนื้อเยื่อเข้ากันไม่ได้ ซึ่งจะไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไตได้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อชีวิต
ดื่มแอลกอฮอร์เยอะๆ จะมีผลต่อไตหรือไม่?
สุราไม่ได้มีพิษต่อไตโดยตรง แต่อาจจะทำให้ระบบควบคุมสมดุลน้ำและเกลื่อแร่ผิดปกติไป ทำให้เกิดโรคตับได้ การดื่มสุราเป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการตับแข็ง ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคไตที่เกิดจากตับแข็งได้
ระหว่างฟอกไต มีภาวะแทรกซ้อนใหม?
มีได้บ้างเล็กน้อย เช่น เป็นตะคริว ปวดศรีษะ เวียนศรีษะ ความดันต่ำ
ฟอกไต ต้องทำบ่อยแค่ใหน?
2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง แล้วแต่อาการของผู้ป่วย
กลั้นปัสวะนานๆ มีโอกาสเป็นโรคไตได้ใหม?
กลั้นปัสสาวะนานๆ มีโอกาสทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจะเริ่มที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่างก่อน และถ้ารักษาไม่หายขาดทันท่วงที เชื้อจะลามขึ้นไปที่กรวยไต กรวยไตจะใกล้เนื้อไต ถ้าเกิดการติดเชื้อเรื้อรังตรงบริเวณนี้ เนื้อเยื่อไตก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
กินเค็มมากๆ จะเป็นโรคไตหรือไม่?
ไม่เป็น เพียงแต่จะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้โรคไตที่เป็นอยู่เป็นมากขึ้น เพราะรสเค็มเกิดจากเกลือ โซเดียม ร่างกายได้รับโซเดียมเข้าไปเยอะๆ ไตก็จะทำงานหนัก ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น ทำให้ไตเสื่อมสภาพเร็ว
อย่าลืมว่าสาเหตุของโรคไตอีกอย่างหนึ่งคือ ความดันโลหิตสูง เวลาที่ความดันโลหิตสูงขึ้น จะทำให้เส้นเลือดภายในไตนั้นเกิดการเสื่อมสภาพ
เป็นโรคไต ต้องควบคุมการกินเนื้อสัตว์ไหม?
สำหรับคนที่เป็นโรคไต เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เดิมทานเนื้อสัตว์อยู่เท่าไรให้ลดลงครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเกิดว่าอยากได้รายละเอียดเพิ่ม ก็จะมีนักกำหนดอาหารที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ เราสามารถไปขอคำปรึกษาได้
คุณหมอจะแนะนำว่า โปรตีนสำหรับคนที่ไตเสื่อมระดับนี้ ควรจะกินโปรตีนกี่กรัม ต่อน้ำหนักตัว ต่อวัน คุณหมอจะคำนวณให้เราว่า เมื้อหนึ่งควรจะทานเนื้อสัตว์ได้กี่ชิ้น ข้าวได้กี่ทับพี
อย่าลืมว่าอาหารทุกชนิดนั้นมีโปรตีน เพียงแต่อาหารกลุ่มที่มีโปรตีนสูง เช่น พวกเนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่จริงสามารถทานได้เพียงแต่ปริมาณจะต่างไป
โรคไตเป็นฟองน้ำ เกิดจากสาเหตุอะไร?
ไตเป็นฟองน้ำ เป็นโรคไตแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโรคไตเสื่อมเรื้อรังในอนาคตได้ สาเหตุจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ไตจะเกิดชีส หรือถุงน้ำ เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และซีสจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ไตโตขึ้นเพราะถุงน้ำจำนวนมาก และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีอาการอึดอัดแน่นท้อง การตรวจสามารถคลำจากหน้าท้องได้เลย
ไตวาย จะเกิดขึ้นเมื่อใหร อย่างไร?
ไตวายมีหลายระดับ ปัจจุบันเราแบ่งเป็น 5 ระดับ แพทย์มักจะใช้คำว่าไตวาย ในสกรณีทีไตเสื่อมสภาพไปแล้ว คือคนที่ไตทำงานน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระยะที่ 5 หรือระยะสุดท้าย ส่วนระยะ 1-4 แพทย์ใช้คำว่า โรคไตเรื้อรัง หรือไตเสื่อม
การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ คืออะไร?
การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ เพื่อดูความปกติของเส้นเลือด เนื่องจากเส้นเลือดอยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเส้นเลือดเกิดเสียขึ้นมา ก็จะมีโปรตีนในเส้นเลือดรั่วใหลออกมาทางปัสสาวะ และถ้าโปรตีนรั่วเยอะในปัสสาวะ แสดงว่าไตผิดปกติ
ค่าโปรตีนในปัสสาวะสูง ไม่ได้แปลว่าโรคไตอย่างเดียว อาจเป็นเส้นเลือดแตกในสมองก็ได้
โรคเบาหวาน ทำให้เกิดโรคไตได้ไหม?
เบาหวานจะทำให้ระบบกรองเลือดเสียหาย ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป จะทำให้ไตต้องกรองเลือดมากเกินไป ซึ่งงานที่มากเกินไปเหล่านี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบกรอง เมื่อเป็นเช่นนี้หลายปี ตัวกรองก็จะเริ่มรั่ว และโปรตีนที่ดีทั้งหลายก็จะสูญเสียไปในปัสสาวะ
การที่มีโปรตีนปริมาณเล็กน้อยในปัสสาวะนั้นเรียกว่า ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย สามารถรักษาได้ แต่ถ้ามีโปรตีนปริมาณมากในปัสสาวะจะเรียกว่า ภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย ซึ่งมักจะตามมาด้วยภาวะไตวายระยะสุดท้าย
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำให้ไตต้องทำงานหนัก และเป็นสาเหตุให้ไตทำงานไม่ปกติได้ หากได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ ก็สามารถให้การรักษา เพื่อชะลออาการของโรคไตได้
แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัยช้า ก็มักจะเกิดไตวาย หากเกิดภาวะไตวายก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพื่อทดแทนการทำงานของไต เช่น การล้างไต หรือการปลูกถ่ายไตใหม่
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคไต
- ถ้าเราเป็นโรคไตเสื่อม สร้างฮอร์โมนอิรีโทรพอยอิตินไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะซีสต์ (cyst) เรื้อรังเกิดขึ้น
- โรคเก๊า ซึ่งมีระดับยูริก กรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานาน ก็ก่อให้เกิดไตเสื่อมได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ่ว