การกินยาขณะตั้งครรภ์
การกินยาขณะตั้งครรภ์ ยาบางชนิดปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่บางชนิดนั้นไม่ปลอดภัย หรือยังไม่ทราบว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อเด็กในครรภ์
ดังนั้นหากคุณกำลังกินยาใดๆ อยู่ และพบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องประเมินว่า ระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงที่จะได้รับนั้น ด้านไหนมีมากกว่า
การกินยาขณะตั้งครรภ์
- วิตามินบำรุงสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะนั้นปลอดภัย แต่หากคุณจะกินวิตามินอื่นๆ ยาสมุนไพร หรือยาบำรุงใดๆก็ตาม ควรถามแพทย์เสมอ เนื่องจากยาสมุนไพรและยาบำรุงส่วนใหญ่นั้น ยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยเมื่อใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- ไม่ควรซื้อยากินเองในขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นกรณีจำเป็นเท่านั้น
- ทุกครั้งที่ได้รับการจ่ายยา ต้องแน่ใจว่าคนที่จ่ายยาให้คุณนั้น ทราบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์
ยาที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ยาและตำรับการรักษาในรายชื่อดังต่อไปนี้ ไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ หากกินตามที่ระบุไว้ในฉลาก แต่หากคุณต้องการทราบเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือยาชนิดอื่นที่ไม่ได้ระบุในรายชื่อนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ยาสำหรับโรคภูมิแพ้ เบนาดริล (ไดเฟนไฮดรามีน) และ คลาริทีน แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินยาเหล่านี้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- ยาสำหรับโรคหวัด และไข้หวัดใหญ่ ยาไทลีนอล หรือพาราเซตตามอล (อะเซตามีโนเฟน), น้ำเกลือหยอดจมูก และน้ำเกลือแบบสเปรย์พ่นจมูก, น้ำเกลืออุ่นสำหรับล้างจมูก แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินยาเหล่านี้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
- ยาสำหรับท้องผูก โคเลส เมตามูซิล
- ยาทาสำหรับปฐมพยาบาลบาดแผล บาซิทราซิน เจแอนด์เจ นีโอสปอริน โพลีสปอริน
- ยาสำหรับผื่นคัน เบนาดริลครีม, คาลาดริลโลชั่นหรือครีม, ไฮโดรคอร์ติโซลแบบครีมหรือแบบขี้ผึ้ง, ตำรับสมุนไพรสำหรับแช่ตัว (อวีโน)
หมายเหตุ : ไม่มียาตัวใดที่ปลอดภัยแน่นอน 100% สำหรับหญิงตั้งครรภ์
การแพทย์ทางเลือกที่ปลอดภัย
การแพทย์ทางเลือกบางอย่างได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อที่จะช่วยบรรเทาอาการข้างเคียง ที่ก่อให้เกิดความไม่สบายในหญิงตั้งครรภ์ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่ามาจากธรรมชาติก็ตาม
การรักษาอาการต่างๆ ด้วยแพทย์ทางเลือก
อาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
- การฝังเข็ม
- การนวดกดจุด
- รากขิง กินครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง
- วิตามินบี6 (ไพริดอกซิน, กินทีละ 25 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวัน) สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ดี รวมทั้งการจิบน้ำเชื่อมจากผลไม้กระป๋องประเภทลูกพีช, ลูกแพร์, ผลไม้รวม, สับปะรด, หรือส้มอาจช่วยบรรเทาอาการได้
อาการปวดหลัง
- เทคนิคการจัดกระดูกแบบไคโรแพรคติก
- การนวดประคบ
- กายภาพบำบัด ถือว่าได้ผลดีที่สุด
เปลี่ยนท่าเด็กในครรภ์จากท่าก้นเป็นท่าศีรษะ
- การออกกำลังกายและการสะกดจิตรักษาอาจช่วยได้
การบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ในขณะคลอด
- การฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลังนับว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด
- การใช้เทคนิคการผ่อนคลายและการควบคุมลมหายใจ
- การช่วยเหลือให้กำลังใจ
- การสะกดจิตตนเอง ก็เป็นการรักษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการคลอด
- การฝังเข็มก็สามารถช่วยเหลือได้ในหญิงตั้งครรภ์บางคน
การแพทย์ทางเลือกที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาเบอร์ ไวต้า, เบท รูท, แบลคโคฮอช, บลูโคฮอช, คาสคาร่า,
- สารสกัดจากต้นเชสต์เบอร์รี่, ตังกุย, ควินิน,
- สารสกัดจากเปลือกรากต้นฝ้าย, ดอกเก๊กฮวย, โสม, โกลเดนซีล, จูนิเปอร์, คาวา คาวา,
- ชะเอมเทศ, หญ้าฝรั่น, มินท์เพนนีโรยอล, รากโผล่, เวทนา, วิญญ, เซนต์จอห์นเวิร์ต,
- มะขามแขก, สลิปเปอร์รี่รูท, แทนซี, ดอกโบตั๋นขาว, วอร์มวูด, แยร์โร, เยลโลดอค
- วิตามินเอ หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้
- สุคนธบําบัดโดยน้ำมันหอมระเหยดังต่อไปนี้ หวาย, โกฐจุฬาลัมพา, มินท์เพนนีโรยอล, วิญญู, ระกำ, กะเพรา, ดอกฮิสซอฟ, กำยานแขก, มาร์จอรัมและไธม์
สารเหล่านี้หากกินในระดับความเข้มข้นสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์ได้ บางชนิดคาดว่าอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด หรือกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยา ยาบำรุงหรือการรักษาด้วยวิธีใดๆ ควรสอบถามแพทย์ก่อนเสมอ
หญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้ยาอะไรบ้าง?