การเลือกน้ำมันพืช ในการปรุงอาหาร ให้ดูความร้อนในการปรุงอาหารเป็นหลัก น้ำมันพืชแต่ละชนิด มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป หากเราสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ก็จะได้อาหารที่อร่อยและได้สุขภาพที่ดีด้วย
การเลือกน้ำมันพืช ในการประกอบอาหาร
1. อาหารประเภทผัด
จะใช้น้ำมันพืชจากไร่ เช่น น้ำมันพืชจาก ดอกคำฝอย ดอกทานตะวัน ดอกคาโนลา ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว นอกจากจะผัดอาหารอร่อยแล้ว ยังมีวิตามินอีสูง มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในระดับปลานกลาง ไม่เป็นไขที่อุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับอาหารประเภทผัด หรือทอดในระยะสั้นที่ใช้ไฟปานกลาง เช่น ผัดผัก ไข่เจียว เป็นต้น หรือจะใช้ทำน้ำสลัดก็ได้
น้ำมันพืชชนิดนี้ ไม่เหมาะกับการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนสูง เพราะจะมีกลิ่นเหม็นหืน และเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจตีบตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และตับเสื่อมได้ จึงไม่เหมาะกับการนำไปทอด
2. อาหารประเภททอด
น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันถั่วลิสงและน้ำมันเมล็ดชา มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง สามารถทนความร้อนได้สูง และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ทำให้อาหารมีรสชาติกรอบอร่อยและยังมีวิตามินอีจากธรรมชาติอีกด้วย เหมาะสำหรับการทอดที่ใช้ความร้อนสูง หรือทอดนานๆ เช่น ทอดน่องไก่ ทอดปลา เป็นต้น
หมายเหตุ : น้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร ไม่ควรใช้ซ้ำบ่อยๆ เพราะน้ำมันที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จะมีสารโพลาร์อยู่มาก ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย
3. การแต่งกลิ่น และรสของอาหาร
เราจะใช้น้ำมันงา ในการแต่งกลิ่นและรสของอาหาร โดยเฉพาะอาหารจีน เนื่องจากน้ำมันงามีกลิ่นและรสเฉพาะตัว
4. น้ำมันทำน้ำสลัด
น้ำมันมะกอกนิยมนำมาทำน้ำสลัด หรือใช้ปรุงอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ที่จะช่วยให้ผิวหนังมีความยือหยุ่น ลดรอยเหี่ยวยนได้
น้ำมันมะกอกมีหลายชนิด เราจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาหารที่เราปรุง เพื่อให้เกิดประประโยชน์ต่อร่างกาย และได้อาหารที่อร่อย
หมายเหตุ : น้ำมันมะกอกเกิดควันได้ง่าย จึงไม่เหมาะกับการปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันปรุงอาหาร
- น้ำมันปรุงอาหารมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ น้ำมันพืช และ น้ำมันสัตว์
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวในปริมาณมาก
- การกินไขมันสัตว์มาก อาจจะทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
- น้ำมันรำข้าว มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี ไม่เหม็นหืน เพราะป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้สูง ทำให้ไม่ต้องใส่สารกันหืนในน้ำมันรำข้าว
- ในน้ำมันพืช และน้ำมันสัตว์ ให้พลังงานเท่ากัน คือ 9 kcal/กรัม
น้ำมันงา น้ำมันรำข้าวอาจช่วยลดความดันโลหิต