การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์
ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอาการแพ้ท้อง ซึ่งจะเป็นมากในช่วงสามเดือนแรก
เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง เวลาตื่นนอนจะมีอาการมึนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน หลังตื่นนอนตอนเช้าจึงควรดื่มน้ำผลไม้ และกินขนมปังกรอบทันทีจะทำให้รู้สึกดีขึ้น
อาหารสำหรับคนท้อง
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเพิ่มอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ และแคลเซียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารก ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก และกรดโฟลิคสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง และการพัฒนาของระบบประสาทของทารก
- พยายามงดเว้นอาหารสุกๆดิบๆ ของหมักดอง ผงชูรส ไม่ควรรับประทานอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว อาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไป
- เนื้อสัตว์ ไข่ นม ต้องเพิ่มขึ้นประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ เช่น เพิ่มเนื้อสัตว์ขึ้นวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ข้าวไม่ต้องเพิ่ม เคยทานเท่าไหร่ให้ทานเท่าเดิม ไข่สามารถมารถทานได้ทุกวันถ้าคุณแม่ไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือด
- ดื่มน้ำให้มากโดยไม่จำกัดจำนวน และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ รวมไปถึงงดสูบบุหรี่ด้วย
- ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 12-15 กิโลกรัม และควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นมากเกินไป ในระหว่างการตั้งครรภ์
การพักผ่อน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในระหว่างการตั้งครรภ์ ประมาณ 8-10 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน และอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังอาหารกลางวัน
- ก่อนนอนควรงดดื่มน้ำ และอาหารเหลว ไม่ควรทานอาหารอิ่มเกินไป ไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมก่อนเข้านอน แต่ให้ทำอะไรเบาๆ และผ่อนคลายแทน
- เมื่อมีอาการปวดหลังระหว่างก้นทั้งสองข้าง ร้าวไปจนถึงต้นขา พยายามนอนพื้นเรียบ หรือใช้หมอนหนุ่นหลังเวลานั่ง
การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์
ควรออกกายบริหาร หรือออกกำลังที่ไม่หนักจนเกินไป ออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อต่างๆ ของคุณแม่มีความแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุงเชิงกราน และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
การว่ายน้ำช่วยให้ลดอาหารปวดเมื่อย และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี หรือเดินวันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
การรักษาความสะอาดและการแต่งกาย
- อาบน้ำชำระร่างกายให้บ่อยขึ้น เพราะช่วงนี้อาจมีตกขาวมากขึ้นเหมือนแป้งเปียก แต่จะต้องไม่มีกลิ่น รู้สึกเหนียวตัว ขี้ร้อน อาบน้ำด้วยสบู่อ่อน แต่ไม่จำเป็นต้องถูสบู่ทุกรอบ เพราะจะทำให้ผิวแห้ง
- คุณแม่ควรลดการอาบน้ำอุ่น ห้ามเกาเมื่อมีอาการคัน แค่ทาครีมหรือเบบี้ออยล์ ใช้มือลูบเบาๆ จะทำให้เรารู้สึกสบายขึ้น และช่วยป้องกันอาการท้องลาย
- ปากและฟัน คุณแม่จะเริ่มมีฟันผุได้ในช่วงนี้ เพราะความเป็นกรดด่างในช่องปากเปลี่ยนไปทำให้เกิดหินปูนมากขึ้น จึงทำให้เกิดฟันผุ เพราะฉะนั้นควรแปรงฟันหลังอาหารทุกมื้อ
- หัวนมเริ่มมีสีคล้ำอาจมีสะเก็ดสีดำ คุณแม่ห้ามแกะแค่ล้างธรรดา ใช้ผ้าขนหนูนุ่มเช็ดทำความสะอาด อย่าให้หัวนมเป็นแผล
- อวัยวะเพศต้องล้างให้สะอาด การเข้าห้องน้ำในที่สาธารณะต้องระวังเรื่องความสะอาด เพราะอาจมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่มีความบางเบาสบายตัว และหลวม เพื่อให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวมากขึ้น รองเท้าไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้ว