การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน บางคนเพียงควบคุมอาหารและออกกำลังกายก็สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้แล้ว แต่บางคนระดับน้ำตาลยังสูงอยู่ แพทย์จำเป็นต้องเริ่มให้ยาเบาหวาน
ถ้าผู้เป็นเบาหวานควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้ว แต่ค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในช่วง 3 เดือน หรือค่า A1C ยังสูงกว่า 6.5 แพทย์จำเป็นต้องเริ่มให้ยาเบาหวาน ดังนี้
1. เป็นเบาหวานเพราะขาดอินซูลิน
- ให้ยาเม็ดกลุ่มที่ 1 หรือ ชัลโฟนีลบูเรีย (Sulfonylurea) เพื่อกระตุ้นตับอ่อนให้สร้างอินซูลินเพิ่ม ยานี้มีทั้งออกฤทธิ์สั้น ปานกลาง และยาว แต่ต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นอันตรายได้ โดยทานวันละครั้ง
- ให้ยาเม็ดกลุ่มที่ 2 หรือ กลิไนด์ ยากลุ่มนี้เหมือนซัลโฟนีลบูเรีย แต่มีฤทธิ์สั้นกว่า ข้อดีกของยากลุ่มนี้คือ ช่วยลดระดับน้ำตาลหลังอาหารได้ดี ข้อเสียคือ ต้องทานก่อนอาหารทุกมื้อ
2. เป็นเบาหวานเพราะเกิดภาวะต้านอินซูลิน
- ให้ยาเม็ดกลุ่มที่ 5 กลูโคเบ (Glucobay) และ บาเซน (Basen) เป็นยาลดน้ำตาลหลังอาหาร ยากลุ่มนี้จะทำหน้าที่ยับยังเอนไซม์ที่ผนังลำไส้ ทำให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง และทำให้ระดับน้ำตาลหลังอาหารไม่สูงขึ้นมาก ยากลุ่มนี้จะมีฤทธิ์ค่อนข้างอ่อน นิยมใช้กับผู้เป็นเบาหวานที่เพิ่งเริ่มเป็น และระดับน้ำตาลยังไม่สูงมาก หรือใช้ร่วมกับยาตัวอื่น เนื่องจากการเกิดเบาหวานมีหลายสาเหตุ ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานจึงอาจจำเป็นต้องรับยาหลายกลุ่มร่วมกัน
- ให้ยาเม็ดกลุ่มที่3 กลิตาโซน (Glitazone) เพื่อลดภาวะต้านอินซูลิน ทำให้กล้ามเนื้อและไขมันไวต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน สามารถเก็บกักน้ำตาลได้มากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ในบางคนใช้แล้วอาจเกิดอาการบวมได้
- ให้ยาเม็ดกลุ่มที่4 เมทฟอร์มิน (Metfomin) มีฤทธิ์ลดภาวะต้านอินซูลิน ควบคุมสมดุลของน้ำตาลในกระแสเลือดขณะกินอาหารหารและระบบย่อยเริ่มทำงาน โดยเก็บกักน้ำตาลไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ในกระแสเลือดสูงเกินไป และปล่อยน้ำตาลกลับคืนเข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้งเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดจะเริ่มลดลงหลังมื้ออาหารผ่านพ้นไปแล้ว 3-5 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ตับจะมีปัญหาในการปล่อยน้ำตาลกลับคืนมากเกินไป ขาดระบบยับยัง ควบคุมน้ำตาลไม่อยู่ ยาเม็ด เมทฟอร์มิน จะทำหน้าที่ลดการปล่อยน้ำตาลจากตับ และแก้ไขสมดุล แต่อาจทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย และทำให้คนไข้รู้สึกเบื่ออาหารได้
โดยปกติแพทย์จะเริ่มรักษาด้วยการให้ยาตัวไดตัวหนึ่งก่อนแล้วค่อยๆ ปรับขนาดยาตามระดับน้ำตาล ต่อมาเมื่อใช้ยาขนานไดขนานหนึ่งแล้ว น้ำตาลยังไม่ลดลงเท่าที่ควร ก็จะเริ่มให้ยาตัวอื่นเพิ่ม
จากการศึกษาพบว่า ยิ่งเราควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีเพียงได การใช้ยาก็จะยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม ระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงขึ้นและเป็นนานขึ้นเท่าไหร่การใช้ยารักษามักจะได้ผลลดลง หรือต้องเพิ่มขนาดยาที่มากขึ้น
นั้นเพราะตับอ่อนของผู้เป็นเบาหวานมักเสื่อมสภาพเร็วกว่าคนปกติ และเมื่อถึงขั้นที่เซลล์ตับอ่อนเริ่มไม่ทำงาน จำเป็นต้องใช้ยาฉีดหรืออินซูลินเข้ามาช่วยในการรักษา
การดูแลตัวเอง
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- ดูแลดวงตาให้มีสขภาพดี
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดูแลเท้าเป็นพิเศษ