โรคเอดส์
โรคเอดส์ รักษาได้ ยิ่งรู้เร็วยิ่งดีต่อการรักษา เพราะฉะนั้นอย่ากลัวการตรวจเลือด เพราะมันไม่มีประโยชน์ มายอมรับมันให้ได้ และรีบรักษา แค่นี้คุณก็จะได้ใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไป
โรคเอดส์มีอาการอย่างไร?
เมื่อร่างกายเราได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าไป เราจะมีสุขภาพไม่ต่างไปจากเดิม เพราะเชื้อเอชไอวีจะค่อยๆ ทำลายภูมิคุ้มกันไปเรื่อยๆ จะไม่ทำให้ป่วยในทันที
เพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายได้ ช่วงนี้เรียกว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลาย จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคต่างๆ ได้ ก็จะทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้นๆ ช่วงนี้เรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ เป็นผู้ป่วยเอดส์
ส่วนใหญ่จะพบอาการหลังติดเชื้อผ่านไปแล้ว 4-6 ปี หรือบางรายนานถึง 10 ปี เร็วสุด 6 เดือน แต่ไม่ค่อยพบ
โรคที่ป่วยหรือกำเริบขึ้นในช่วงที่เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องเรียกว่า โรคฉวยโอกาส เช่น เชื้อราในปาก เชื้อราในหลอดอาหาร วัณโรค เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง ปวดอักเสบพีซีพี เป็นต้น
ซึ่งโรคฉวยโอกาสหลายโรค สามารถป้องกันและรักษาได้ ขณะเดียวกันภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องก็สามารถรักษาได้ โดยการใช้ยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อเอชไอวี ทำให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจนกลับสู่ระดับปกติ
การตรวจเลือด
- การตรวจแบบรู้ผลเลย สำหรับผู้มีความเสี่ยง 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- การตรวจแบบแนท สำหรับผู้มีความเสี่ยง 1-2 สัปดาห์ คือการตรวจหาเชื้อ HIV ชนิดเฉียบพลัน
ขั้นตอนการขอตรวจเลือด
- ลงทะเบียน ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อจริง สามารถใช้เป็นชื่อย่อได้ในการลงทะเบียน แต่ถ้าแสดงบัตรประชาชนจะได้รับการตรวจฟรี
- รับคำปรึกษาก่อนการตรวจ เพื่อประเมินความเสี่ยงและสภาพจิตใจ
- เจาะเลือด และรอฟังผล 1 ชั่งโมง และรับคำปรึกษาหลังการตรวจเลือด ถ้าผลเป็นบวกจะดำเนินการตรวจขั้นต่อไปเพื่อรักษา
โรคเอดส์รักษาได้
โรคเอดส์สามารถรักษาได้ โดยการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อเอชไอวี ทำให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นจนกลับสู่ระดับปกติ
ถ้าได้รับการรักษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผู้มีเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติยาวนานขึ้น และไม่ป่วยเป็นโรคฉวยโอกาส
การเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บป่วย ก็จะเป็นผลดีต่อผู้ติดเชื้อเอง การรักษาก็จะไม่ยุ่งยากซับซ้อน
ดังนั้นถ้าคุณมีภาวะเสี่ยงภายใน 7 วัน คุณสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีได้แล้ว เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภูมิคุ้มกันจะถูกทำลายแล้วก็ยังรักษาได้ แต่อาจต้องเผชิญกับอาการเจ็บป่วยหรืออาการข้างเคียงของยาที่มากขึ้น
การดูแลตนเอง
- มีวินัยที่ดีในการกินยาต้านไวรัสอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา สม่ำเสมอ ตลอดไป และต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
- ลดความวิตกกังวล จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงสุรา และยาเสพติด
- พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ลืมกินยาต้านไวรัส หรือ กินยาไม่ตรงเวลา
การลืมกินยา หรือ การกินยาต้านไวรัสที่ไม่ตรงเวลา จะส่งผลทำให้ยาไม่สามารถไปกดจำนวนเชื้อไวรัสเอชไอวีในร่างกายได้ ทำให้เชื้อดื้อยา ผลสุดท้ายจะทำให้เกิดการล้มเหลวในการรักษา ซึ่งแพทย์จำเป็นที่จะต้องทำการเปลี่ยนยา เป็นสูตรดื้อยา
สูตรดื้อยานี้จะมีข้อเสียคือ จำนวนยาที่ต้องกินมากขึ้น ผลข้างเคียงก็จะมากขึ้นตามจำนวนยาที่เพิ่มขึ้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรักษาก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นถ้าต้องการเปลี่ยนเวลาในการกินยา ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
ไม่ใช้ยาสมุนไพรร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี
จากการวิจัยพบว่า สมุรไพรหลายชนิด จะไปลดประสิทธิภาพยาต้านไวรัสเอชไอวี หากมีการใช้ร่วมกัน และยังมีความเป็นพิษต่อตับและไต อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ หากต้องการใช้ยาสมุรไพรร่วมด้วย ให้นำสมุนไพรนั้นมาปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
ยารักษาไมเกรน มีผลต่อยาต้านไวรัสเอชไอวีหรือไม่?
ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรน และต้องกินยาร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี จะทำให้ยาตีกันกับยาต้านไวรัส และส่งผลให้ยารักษาไมเกรนมีผลเป็นพิษต่อร่างกาย
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่กินยาเพื่อรักษาไมเกรน หรือโรคประจำตัวอื่นๆ หรือยาสมุนไพร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะได้วางแผนการรักาษาได้อย่างถูกต้อง ห้ามผู้ป่วยกินยาอื่นๆ ก่อนปรึกษาแพทย์โดยเด็ดขาด
รู้หรือไม่?
- ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่ปรากฏอาการถึง 1,200,000 คน บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีเชื้อในตัว ดังนั้งการมีเพสสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันทุกครั้ง คือการเสี่ยงติดโรคเอดส์
- วัยรุ่นกลายเป็นกลุ่มหลักของผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ ที่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 8,000 ราย โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย
- กลุ่มผู้หญิงที่ติดเชื้อแล้วตั้งครรภ์ สามารถป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ลูกได้ ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 2 เนื่องจากการใช้ยาต้านไวรัส โดยการผ่าคลอด และการงดให้นมแม่
- เอดส์เป็นโรคเรื้อรังเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สามารถรักษาได้ ถึงแม้จะไม่หายขาด