อาการวัยทอง
อาการวัยทอง จะเริ่มตั้งแต่ประจำเดือนยังไม่หมด ในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ในเพศหญิงลดลง ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่เรียกว่า อาการวัยทอง
ภาวะวัยทองแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
- ช่วงแรกที่อายุประมาณ 40-45 ปี ประจำเดือนหายไปเป็นช่วงสั้นๆ หรือประจำเดือนมาเร็วขึ้นกว่าปกติ
- ในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป รอบประจำเดือนจะมาห่างขึ้น คือ 2-3 เดือนต่อครั้ง
- ช่วงสุดท้ายอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเป็นช่วงหมดประจำเดือน โดยประจำเดือนจะหายไปเกิน 1 ปี
อาการวัยทองในผู้หญิง
- ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ
- ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เหงืองออกมากตอนกลางคืน
- บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อและกระดูก
- ผิวหนังบางลง แห้งและเกิดเป็นแผลได้ง่าย มีอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังเกิดผื่นแพ้ง่าย
- นอนไม่หลับ เวียนศีรษะระหว่างวัน หลงลืมง่าย
- อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว ซึมเศร้า หงุดหงิด
- เล็บเปราะบาง ผมร่วงง่าย
- ช่องคลอดแห้ง รู้สึกเจ็บมากเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ความต้องการทางเพศลดลง
- อาการเหมือนมีไฟฟ้าช๊อตตามร่างกาย
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- คลอเลสเตอรอลสูง
ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนวัยทอง
- ตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) เป็นฮอร์โมนที่มาจากต่อมไต้สมองของเรา ถ้าไข่ไม่ตกระดับฮอร์โมน FSH ก็จะเพิ่มขึ้นที่ 25.8-134 แสดงว่าเริ่มเข้าสู่วัยทอง
- ตรวจฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือฮอร์โมนเพศหญิง ถ้าได้ค่าต่ำ คือน้อยกว่า 138-5 แสดงว่าเริ่มเข้าสู่วัยทอง
วิธีรักษาอาการวัยทอง
- ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็น รักษาแบบประคับประคองไปก่อน อาการร้อนวูบวาบจะเป็นแค่ช่วงแรกๆ แล้วจะค่อยๆ หายไปเอง
- การรักษาด้วยการใช้ยาเพิ่มฮอร์โมนทดแทน
- ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้ยาเพิ่มฮอร์โมน จะได้รับการรักษาแบบธรรมชาติ เช่น เรื่องอาหารการกิน การออกำลังกาย และการเล่นโยคะ เป็นต้น
ยาเพิ่มฮอร์โมนรักษาวัยทอง
แพทย์จะทำการตรวจเลือด วัดระดับฮอร์โมนต่างๆ และดูความเสี่ยงว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาเพิ่มฮอร์โมนได้หรือไม่
เพราะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก โรคตับเรื้อรัง โรคลิ่มเลือดอุดตัน ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนได้ เพราะอาจไปกระตุ้นโรคเหล่านี้
อาการที่ต้องกินยาเพิ่มฮอร์โมน
- มีอาการร้อนวูบวาบ มีเหงือออก ช่องคลอดแห้งแสบ มีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บมาก ขาดอารมณ์ทางเพศ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
- กินยาเพิ่มฮอร์โมน เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน
ยาเพิ่มฮอร์โมนแบ่งเป็น 3 ประเภท
- ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียว ใช้ทุกวัน หรือหยุดใช้ 7 วัน ใน 1 เดือน เหมาะกับผู้หญิงที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว แต่ถ้าผู้หญิงยังมีมดลูกอยู่ แล้วใช้ยาเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนไปนานๆ เกิน 5 ปี อาจกระตุ้นให้เกิดเนื้องอก หรือมะเร็งที่มดลูกได้
- ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนโพรเจสทิน ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทุกวัน หรือหยุดใช้ 7 วัน ใน 1 เดือน และใช้ฮอร์โมนโพรเจสทิน 10-14 วัน/เดือน
- ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โพรเจสเทอโรน ใช้พร้อมกันในประริมาณคงที่ สม่ำเสมอ ทุกวัน เหมาะสำหรับคนที่หมดประจำเดือนนานแล้วเกิน 1 ปี
ผลข้างเคียงของยาเพิ่มฮอร์โมน
- มีเลือดออกผิดปกติเมื่อกินยาผิดชนิด
- การกินยาเพิ่มฮอณโมน อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งมดลูก
- ยาที่เก่าอาจส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านม
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บวม น้ำหนักขึ้น ผมร่วง มีสิวขึ้น ขนดก อื่นๆ
หมายเหตุ:
- ฮอร์โมนทดแทน มีทั้งแบบกิน เจลทา และแผ่นแป่ะ หรือฝั่งเข้าไปในผิวหนัง สอดเข้าทางช่องคลอด
- การใช้ยาเพิ่มฮอร์โมน ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้
การดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง
- หมั่นตรวจสุขภาพทุกปี
- ตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
- วัดความหนาแน่นของกระดูกทุกๆ 2ปี
- ตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
รู้หรือไม่?
- ในผู้หญิงที่ผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง ถือว่าเข้าสู่วัยทอง แต่ไม่เกี่ยวกับการผ่าตัดเอามดลูกออก เพราะตัวที่ให้ฮอร์โมนคือรังไข่ไม่ใช่มดลูก
- ยาเพิ่มฮอร์โมนช่วยป้องกันโรคเมื่อเข้าสู่วัยทอง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคกระดูกพรุน โรคความจำเสื่อม
- กระดูกจะเกิดการสลายที่เร็วมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเข้าสู่วัยทองเร็วขึ้นกว่าคนทั่วไป 1-2 ปี
- อาการวัยทองของแต่ละคนจะแสดงอาการต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวเยอะ อาจจะมีอาการการของวัยทองน้อยกว่าคนทั่วไป
- สามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อทดแทนฮอร์โมนเพศหญิงได้
- ผู้ชายเป็นโรควัยทองได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่เริ่มที่อายุ 40 ขึ้นไป จะมีอาการขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) มีอาการคล้ายๆ ผู้หญิง และสมรรถภาพทางเพศลดลง ไม่แข็งตัว อัณฑะเหี่ยวฝ่อ