ท้องเสีย
ท้องเสีย (Diarrhea) คืออาการถ่ายอุจระบ่อยเกิน 3 ครั้งต่อวัน หรืออุจระเหลวเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ หรืออาจจะถ่ายเป็นมูกเลือด ผู้ที่ป่วยจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหาร หรือน้ำได้อย่างเหมาะสม หากเป็นนานเกินไป อาจมีภาวะขาดน้ำ หรือมีปัญหาเกลือแร่ผิดปกติได้
สาเหตุท้องเสีย
- การกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด
- การแพ้อาหารบางชนิด เช่น นม เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม
- กินอาหารมากเกินไป หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การทานยาหยุดถ่าย
หลายๆ คนอาจคิดว่า เมื่อมีอาการท้องเสีย ควรทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสีย แต่รู้หรือไม่ว่า วิธีการเช่นนี้ เป็นความคิดที่ผิดมากๆ
เพราะการทานยาหยุดถ่ายหรือยาแก้ท้องเสีย จะทำให้ลำไส้ต้องกักเก็บเชื้อโรคเอาไว้นานขึ้น จะทำให้ท้องอืด ปวด และแน่นท้องมากขึ้น
ดังนั้น ถ้าท้องเสียไม่ควรทานยาหยุดถ่าย แต่ควรจจะถ่ายให้หมด เนื่องจากร่างกายจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อมีการติดเชื้อ หรือกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยการปล่อยสารพิษ หรือเชื้อโรคออกมา และเมื่อปล่อยหมด การเคลื่อนตัวของลำไส้ก็จะกลับมาเป็นปกติ
วิธีดูและตัวเองเมื่อท้องเสียในช่วง 24-72 ชั่วโมง
- หยุดรับประทานอาหาร 2 ถึง 4 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้หยุดการทำงาน
- ดื่มเกลือแร่ผงผสมกับน้ำต้มสุก หรือใช้เกลื่อป่นผสมกับน้ำต้มสุก เพื่อทดแทนน้ำกับเกลื่อแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
- หลังจากนั้นจึงเริ่มรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวใส่เกลือ ข้าวต้ม หรือ โจ๊ก งดอาหารรสจัด และอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก ผลไม้
- รับประทานโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติก (probiotic yogurt) เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตเหล่านี้ สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย และทำให้หายเร็วขึ้นได้
- ลองรับประทานแบรทไดเอ็ท (BRAT diet) ได้แก่ กล้วย ข้าว แอปเปิล หรือน้ำแอปเปิล และขนมปังปิ้งแห้ง อาหารสูตรนี้เหมาะสำหรับเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเน้นเฉพาะอาหารเหล่านี้ แต่ทานอาหารเหล่านี้เพิ่ม อาจช่วยให้อาการท้องเสียหายเร็วขึ้นได้
- งดดื่มนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน จนกว่าจะหายท้องเสีย
- หลีกเลี่ยงยารักษาโรคท้องเสีย ยกเว้นแพทย์สั่ง เนื่องจากท้องเสียเป็นการขับสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย ดังนั้นทางเดียวที่จะดีขึ้นได้ คือต้องยอมถ่ายเหลว
- รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง หรือ ยาลดไข้
ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในกรณีดังต่อไปนี้
- อาเจียน หรือท้องเสียในเด็กแรกเกิด อายุน้อยกว่า 3 เดือน (พบแพทย์ทันทีที่มีอาการ)
- เด็กอายุเกิน 3 เดือนที่มีอาการอาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
- ท้องเสียนานกว่า 3 วัน
- อุจจาระมีเลือดปน มีสีดำ หรือดูมีน้ำมันปน
- อาการปวดท้องที่ไม่ดีขึ้นเมื่อได้ถ่ายอุจจาระ
- อาการขาดน้ำ เช่น เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หรือตะคริว
- มีไข้ร่วมกับท้องเสีย โดยไข้สูงกว่า 38.33°C ในผู้ใหญ่หรือสูงกว่า 38°C ในเด็ก
สาะน่ารู้และวิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ