ท้องอืด
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ทำให้เกิดอาการ จุก เสียด แน่นท้อง หรือมีอาการพุงป่อง เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถรักษาได้ด้วยสมุนไพรไทย
สาเหตุของอาการท้องอืด
- รีบกินอาหาร เคี้ยวไม่ละเอียด รีบกลืน หรือ กินอาหารมากเกินไป ทำให้การย่อยทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ เสียเวลาย่อยนาน
- ความไวต่ออาหารบางประเภท โดยเฉพาะอาหารที่มีเส้นใยมาก เพราะอาหารเหล่านี้เป็นตัวดูดซับน้ำ เมื่อพองตัวจะทำให้ท้องอืด เกิดอาการจุกแน่น
- ออกกำลังกายหลังกินอาหารทันที จะทำให้ท้องอืดแน่นอน เพราะเลือดที่ควรจะไปเลี้ยงระบบย่อยอาหาร จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อแทน
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และอัดแก๊สบางชนิด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์
- กินผลไม้หลังกินอาหารที่มีไขมัน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- ความเครียด มีผลทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว
สมุรไพรรักษาท้องอืด
- ดื่มน้ำขิงสด ใช้ขิงสด 30 กรัม ชงในน้ำเดือด ½ ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และกรองดื่มครั้งละไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ สามารถทำเก็บไว้ในตู้เย็นได้ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องอืดบ่อยๆ
- ตะไคร้ นำตะใคร้ 1 กำมือ ทุบแล้วเอาไปต้มกับน้ำ 1 ลิตร ใช้จิบไปเรื่อยๆ
- กระเพรา โดยต้มใบกระเพราสด 1 กำมือ ในน้ำเปล่า 1 ลิตร ใช้ดื่มแทนน้ำ จิบไปเรื่อยๆ จะช่วยบำรุงธาตุ ขับลม ลดอาการจุกเสียดได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบดื่มน้ำขิงและน้ำตะไคร้ ดื่มง่ายเหมือนน้ำชา
- ผลไม้บางชนิดก็ช่วยรักษาอาการท้องอืดได้ เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล ผักชีลาว มีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร ส่วนกะหล่ำปลี แครอท มีสรรพคุณ ช่วยเป็นยาลดกรด ลดความระคายเคือง ควรกินผักผลไม้เหล่านี้พร้อมอาหาร เพื่อช่วยระบบย่อยในแต่ละมื้อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
หมายเหตุ: แต่ถ้ามีอาการท้องอืดเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น เพื่อนการรักษาได้ทันท่วงที
การป้องกันอาการท้องอืด
- ไม่ควรกินอาหารมากเกินไป และควรเว้นระยะห่างระหว่างมื้ออย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรกินมื้อสุดท้ายก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
- ในแต่ละมื้อที่กินอาหาร ไม่ควรดื่มน้ำเกิน 1 แก้ว
- ถ้ามีแก๊สในท้อง แสดงว่ากลืนอากาศมากไป ควรงดเคี้ยวหมากฝรั่ง และหยุดดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ หรือแก้ไขด้วยการทานโยเกิร์ตที่มีแบคทีเรีย เพื่อช่วยปรับสมดุลของลำไส้
- ถ้ามีอาการบวมน้ำ ให้กินอาหารที่มีโพแทสเซียมเยอะๆ เช่น กล้วย แครตาลูป มะเขีอเทศ เพราะจะมีฤทธิ์ในการสร้างสมดุลของน้ำในร่างกาย ลดอาการบวมน้ำ และควรลดอาหารประเภทแป้ง โดยเฉพาะก่อนนอน เพราะแป้งจะทำให้บวมน้ำ ตื่นขึ้นมาก็จะทำให้ตัวบวมได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ห้ามออกกำลังกายทันทีหลังรับประทานอาหาร ต้องหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
- ลดความเครียด